วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558

น้องรหัสกับพี่รหัส

 สวัสดีคะตอนนี้เอิงอยู่ม.5แล้ว เย้ๆๆๆแก่มาอีกปีแล้วด้วย เย้ๆๆ555  โอเคช่างมันเถอะ พอขึ้นม.5แน่นอนกิจกรรมช่างรุมเร้าเข้ามาจริงๆ แต่ที่พึ่งผ่านมาก็คืออออ น้องรหัสนั้นเองงงงง เป็นอะไรที่สนุกมากกก คือการเล่นน้องรหัสคือ เราเขียนโค๊ตลับอะไรก็ได้ลงไปในกระดาษของเราแล้วให้น้องจับ พอน้องจับเสร็จน้องก็จะประกาศว่าได้โค๊ตอะไร พี่ที่เขียนโค๊ตอันนั้นก็ต้องจำหน้าน้อง คือต้องเก็บอาการมากตอนรู้ว่าน้องได้เรา คือในใจอยากกรี้ดมาก555เห็นหน้าน้องเด็กเรียนน่ารักใส่แว่นงี้ โหยพี่นี้อยากกรี้ดจนสลบ แต่ว่าต้องเก็บอาการ หลังจากทุกคนรู้ว่าน้องเป็นใครก็จะเป็นการเทคแคร์น้อง แล้วแต่คนก็แตกต่างกันไป อย่างเอิงก็ส่งขนม วาดรูปให้ ส่งจดหมาย ตอนนั้นรู็สึกแย่มากเหมือนน้องไม่ค่อยสนใจเราให้คำใบ้ไปก็เงียบตลอดไรงี้ ก็มีมาส่องน้องเรื่อยๆไปทีไรน้องไม่เคยอยู่สักที แต่ช่วงที่มีความสุขมากก็ตอนเฉลยนั้นแหละ5555 น้องมากันพร้อมหน้าพร้อมตา รอบแรกให้น้องที่มั่นใจว่ารู้แล้วว่าพี่รหัสคือใครให้ออกไปยืนข้างหน้าพี่รหัส  น้องก็วิ่งกันวุ่นเลย รอบแรกน้องก็ยังไม่มาหาพี่ยังคงนั่งมองพวกพี่ต่อไป55 รอบที่สองให้พี่เปิดแผ่นป้ายชื่อของทุกคน อ่อลืมบอกว่าพี่ทุกคนจะห้อยป้ายชื่อไว้ข้างหลังป้ายจะมีโค๊ตลับอยู่พอเปิดออก ก็จะเริ่มจับเวลาในการวิ่งหนีน้องและน้องต้องจับพี่ที่เป็นโค๊ตของน้อง เอิงจำสายตาที่น้องมองได้555 ตานี้โตอย่างกะตกใจว่าอ้าวพี่คนนี้หรอ555 และเอิงก็วิ่งหน้าตั้งเลย วิ่งสุดชีวิต แก่ก็แก่ให้วิ่งอีกตายๆพี่จะตายเอิงจำได้ว่าเอิงแอบน้องอยู่ตรงหลังกำแพงหอประชุม2 เอิงมั่นใจว่าไม่เห็นน้องกะจะพักสักหน่อย แต่มีใครไม่รู้มาสะกิดเอิง หันมาตกใจเลยน้องนั้นเอง55 แล้วระหว่างเดินกลับน้องก็คุยกะเอิงว่าไม่คิดว่าเป็นเอิงคิดว่าอีกคนนึง เอิงก็ขำแล้วบอกว่าใบ้ให้ง่ายมากๆเลยแทบเฉลยแล้วน้องยังไม่รู็เลย พอกลับมาตรงจุดรวมตามเกมก็ใครที่น้องจับได้ว่าเป็นพี่รหัสต้องโดนทำโทษ เอิงก็คิดว่าจะโดนแป้งที่ไหนได้ โดนกินน้ำมะนาว ในใจซวยแล้วเกลียดเปรี้ยว5555แต่โอเคเพื่อความสุขของน้องทนกินหมดจนได้555 แล้วน้องก็คุยกะเอิงว่าพี่รอหนูแปปนึงนะ เอิงก็รอแต่ก่อนที่น้องจะไปเอิงก็ดันมีเรียกรวมผูกข้อมือน้อง พี่ๆก็จะได้สายสิญจน์คนละ20เส้น เดินวนเป็นวงกลมแล้วผูกให้น้องเท่าที่จะผูกได้ เอิงก็รักน้องทุกคนเลย อวยพรน้องเกือบทุกคน เอิงเห็นรอยยิ้มเวลาที่เอิงคุยเล่นกับพวกน้องๆแล้วมันรู็สึกดีมากๆเลยนะ ในใจเอิงคิดว่าถึงบางคนจะไม่ได้อยู่สายเดียวกับเอิงก็เถอะ(ญี่ปุ่นและฝรั่งเศสอย่างละครึ่งห้องปนๆกัน)เอิงก็คิดว่าถ้าน้องคนไหนมีปัญหาแล้วมาปรึกษาเอิงเอิงก็จะให้คำปรึกษาทุกคนเลย เพราะน้องๆน่ารัก555ตั้งแต่วันนั้นถึงวันนี้ก็ยังรักน้องๆอยู่ถึงบางคนอาจจะดูหยิ่งๆพี่ก็รักอยู่นะ55ตอนนี้เอิงรู้สึกว่ามีน้องที่สนิทกันจริงๆประมาณ5คนได้แล้วมีเด็กสายญี่ปุ่นคนนึงที่เหลือสายฝรั่งเศสทั้งนั้นน้องก็ค่อนข้างจะรักและเคารพพี่มาก555เจอกันก็กอดกันบ้างกวนประสาทกันบ้าง55แต่มีความสุขมากๆเลยที่เป็นไปด้วยดี นี้เอิงกำลังคิดถึงกิจกรรมวันชาติฝรั่งเศสอยู่ว่าจะแสดงร่วมกับน้องๆเพราะอยากให้มันสนิทกันมากขึ้นอีก แล้วก็จะได้มีเวลาที่ร่วมกันมากขึ้น พี่อยากให้น้องๆเห็นบล็อกอันนี้นะ พี่รักน้องๆทุกคนเลยทั้งที่ไม่สนิทและสนิท พี่อยากจะคอยช่วยเหลือน้องๆทุกคนให้ครบนะ มีไรมาปรึกษาพี่ได้ตลอดเลยนะน้องๆ น้องมาตา น้องมายด์ น้องน้ำฝน น้องโย แล้วก็น้องอีกคนที่พี่ยังไม่รู้ชื่อแต่คุยซะสนิท555 รักนะจากพี่สายฝรั่งเศส

ขอบคุณคะ
ชัญญากัญ

ประวัติโรงเรียน

 ประวัติโรงเรียนราชินีบูรณะ
rn_building1 
       พ.ศ. 2457 เจ้าพระยาศรีวิชัย ต.สมุหเทศาภิบาล มณฑลนครชัยศรีได้ขอครูสตรีจากกระทรวงธรรมการ เพื่อจัดตั้งโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดขึ้นครูคนแรกของโรงเรียน คือ ครูไปล่ สายันตนะ โดยเช่าห้องแถวริมถนนซ้ายพระ ของพระคลังข้างที่ 2 ห้อง เป็นโรงเรียน เปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2457 มีนักเรียนทั้งหมด 7 คน ต่อมาโรงเรียนถูกไฟไหม้ จึงย้ายมาตั้งใหม่ที่เรือนข้างที่พักกองเสือป่า(ใกล้ห้องสมุดประชาชน) มีนักเรียน 36 คน ต่อมาพระยามหาอำมาตย์ อุปราชภาคตะวันตก และสมุหเทศาภิบาลนครชัยศรีเห็นความจำเป็นจะต้องตั้งโรงเรียนถาวรขึ้น จึงมอบให้คุณหญิงทองอยู่ (ภรรยา) ซึ่งเป็นข้าหลวงคนสนิทของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินาถ เข้าเฝ้าขอพระราชทานเงินเพื่อสร้างโรงเรียนหญิงประจำมณฑลขึ้น โปรดเกล้าฯ พระราชานเงิน 25,000 บาท สร้างโรงเรียนราชินีบูรณะ ผู้ควบคุมการก่อสร้าง คือ พระพุธเกษตรานุรักษ์ พัศดีเรือนจำนครปฐม สร้าง ณ ที่ ถนนราชมรรคา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม สร้างเสร็จเรียบร้อยและเปิดให้นักเรียนเข้าเรียนได้ เมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม 2461
วันที่ 10 มิถุนายน 2462 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ(พระพันปีหลวง) ได้พระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์ขนาดใหญ่ และโปรดเกล้าให้ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร เป็นผู้แทนพระองค์มาเปิดโรงเรียน พร้อมกับ พระราชทานนามว่า "ราชินีบูรณะ" สภาพโรงเรียนเป็นตึก 2 ชั้น มีห้องเรียน 6 ห้อง
เนื่องจากนักเรียนมีเพิ่มมากขึ้นทุกปี ดังนั้น ใน พ.ศ.2477 พระยาพิพิธอำพลวิมลภักดี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม จึงได้ริเริ่มสร้างอาคารเรียนเป็นเรือนไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนสูงขึ้น เปิดใช้เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2478 ชื่อว่า "เรือนพิพิธอำพลบูรณะ"
ต่อมา พ.ศ.2497 ได้ใช้เงินบำรุงการศึกษาต่อเติม ชั้นล่างขึ้นอีก 5 ห้อง รวมเป็น 10 ห้องเรียน และได้ซื้อที่ดินเพิ่มด้านตะวันออก อีก 1 ไร่ 25 ตารางวา เป็นเงิน 45,000 บาท โดยได้รับพระราชทานเงินจากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เป็นเงิน 3,500 บาท รวมกับเงินบริจาคของศิษย์ทุกรุ่น โรงเรียนจึงได้จัดสร้างอาคารเรียนเพิ่มขึ้น
พ.ศ. 2499 ผู้ปกครองนักเรียนพร้อมใจกันบริจาคเงินต่อเติมโรงอาหาร ต่อมาได้สร้างอาคาร 2 ชั้น มีห้องเรียน 6 ห้อง ขึ้นใหม่ โดยได้รับบริจาคจากนางทิมและนางสาวละออง ประพันธสิริ เป็นเงิน 140,000 บาท สร้างอาคาร มีชื่อว่า "เรือน ทิม-ละออง ประพันธสิริ" ปัจจุบัน เรือน"ทิม-ละออง ประพันธสิริ" ทำการรื้อถอนเพื่อก่อสร้างอาคารใหม่ 4 ชั้น นอกจากนี้ นางทิมยังได้กรุณามอบพันธบัตร เป็นเงิน 100,000 บาท เพื่อจัดตั้งเป็นมูลนิธิเก็บดอกผลเป็นทุนการศึกษาแก่เด็กยากจน ให้ชื่อว่า "มูลนิธิทิม-ละออง ประพันธสิริ อนุสรณ์"
พ.ศ. 2502 ได้ก่อตั้งสมาคมผู้ปกครอง ครู และศิษย์เก่าราชินีบูรณะ โดยมีนายวิจิตร นิลพันธ์ เป็นนายกสมาคมฯ คนแรก
พ.ศ. 2515 ได้ซื้อที่ดินด้านติดถนนคตกฤช อีก 97 ตารางวา
พ.ศ. 2526 สร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ 4 ชั้น โดยรื้อถอนอาคารเดิมทั้งหมด คงอนุรักษ์ไว้แต่อาคารศรีพัชรินทร์ และในปีงบประมาณ 2528 ได้ต่อเติมอาคารเรียนแบบพิเศษ
พ.ศ. 2528 การพัฒนาโรงเรียนเป็นไปตามลำดับ แต่เนื่องจากคณะศรีพัชรินทร์ มีบริเวณคับแคบ ยากแก่การบริหารหลักสูตร ด้วยความสนับสนุนของสมาคมผู้ปกครอง ครูและศิษย์เก่าราชินีบูรณะ และผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม จึงตัดสินใจซื้อที่ดินเพิ่มอีก 4 ไร่มูลค่ารวมค่าชดเชยบ้าน 22 หลัง เป็นเงิน 8 ล้าน 2 แสนบาท ด้วยปณิธานอันแน่วแน่ของผู้อำนวยการยุพิน ดุษิยามี โครงการซื้อที่ดินก็สำเร็จสมความมุ่งหวังของทุกคน และได้สร้างอาคารเอนกประสงค์ ขึ้น 1 หลัง
พ.ศ. 2538 ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2538 และวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2538 เวลา 10.00 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาทรงเปิดพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ณ โรงเรียนราชินีบูรณะ
พ.ศ. 2539 สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดาเสด็จมาพระราชทานทุนสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ แก่นักเรียนในพระอุปถัมภ์ ณ โรงเรียนราชินีบูรณะ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และในปีนี้มีการก่อสร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ 5 ชั้น และบ้านพักผู้บริหาร
พ.ศ. 2543 สร้างอาคารเรียน 2 หลัง คือ อาคารสุนทร-ทัศนีย์ เทียนทอง และอาคารเรียนแบบพิเศษ 5 ชั้น ภายใต้การริเริ่มและการหาทุนจัดสร้างโดย ผู้อำนวยการ สิริยุพา ศกุนตะเสฐียร

ขอบคุณคะ
ชัญญากัญ


วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ตระกูล

เจ้าพระยารามราฆพ
(หม่อมหลวง เฟื้อ พึ่งบุญ)
องคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2455 – ?
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมุหราชองครักษ์
ดำรงตำแหน่ง
10 พฤศจิกายน 2460 – ?
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าพระยาเทพอรชุน
ถัดไปหม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร
สมุหพระราชมนเฑียร
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2490 – พ.ศ. 2510
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 ตุลาคม พ.ศ. 2433
เสียชีวิต21 ตุลาคม พ.ศ. 2510 (77 ปี)
ศาสนาพุทธ

ประวัต

ปฐมวัย

พลเอก พลเรือเอก เจ้าพระยารามราฆพ เดิมชื่อว่า หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2433 ตรงกับแรม 7 ค่ำ เดือน 10 ปีขาล ร.ศ.109 ที่บ้านถนนจักรเพชร จังหวัดพระนคร เป็นบุตร พระยาประสิทธิ์ศุภการ (หม่อมราชวงศ์ละม้าย พึ่งบุญ) กับพระนมทัด (พระนมของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) มีพี่น้องร่วมมารดา คือ
เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนวัดบพิตรพิมุข และโรงเรียนข้าราชการพลเรือน (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) เมื่อ พ.ศ. 2448 และได้ถวายตัวเข้ารับราชการในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (รัชกาลที่ 6) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2451 ครั้นในงานบรมราชาภิเษก เป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2453 ก็ได้มีหน้าที่เชิญพระแสงขรรค์ชัยศรี ยืนหลังที่ประทับตลอดพระราชพิธี ด้วยเหตุนี้เมื่อทรงจัดตั้งกองเสือป่า จึงพระราชทานธงประจำตัวกองเสือป่า ให้ท่าน เป็นรูปเทพยดา เชิญพระแสงขรรค์ชัยศรี ขนพื้นสีแดง (ถ้าไม่มีเชื้อราชตระกูล ใช้รูปมานพ) ตลอดเวลาที่รับราชการ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ถวายงานใกล้ชิด โปรดให้เป็นหัวหน้าห้องพระบรรทม นั่งร่วมโต๊ะเสวยทั้งมื้อกลางวันและกลางคืนตลอดรัชกาล และตามเสด็จโดยลำพัง
ได้รับความเจริญในราชการโดยลำดับ ดังนี้

ยศ[แก้]

  • 29 มิถุนายน พ.ศ. 2467 เป็นพลเอก (อายุ 34 ปี)
  • 4 มีนาคม พ.ศ. 2498 เป็นพลเรือเอก (อายุ 65 ปี)

บรรดาศักดิ์

  • 30 ธันวาคม พ.ศ. 2453 เป็น นายขัน หุ้มแพร (อายุ 20 ปี)
  • 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 เป็น นายจ่ายง (อายุ 21 ปี)
  • 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 เป็นเจ้าหมื่นสรรเพธภักดี (อายุ 21 ปี)
  • 27 ธันวาคม พ.ศ. 2455 เป็นพระยาประสิทธิ์ศุภการ เช่นเดียวกับบิดา (อายุ 22 ปี)
ต่อมาวันที่ 11 พฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2464 ขณะอายุได้ 31 ปี มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระยาประสิทธิ์ศุภการ ขึ้นเป็นเจ้าพระยารามราฆพ มีสมญาจารึกในสุพรรณบัฎว่า
"เจ้าพระยารามราฆพ พัชรพัลลภมหาสวามิภักดิ์ สมัครพลวโรปนายก สุรเสวกวิศิษฏ์คุณ พึ่งบุญพงศ์บริพัตร นฤปรัตนราชสุปรีย์ ศรีรัตนไตรสรณธาดา เมตตาภิรัตมัทวสมาจาร สัตยวิธานอาชวาธยาศัย อภัยพิริยบรากรมพาหุ คชนาม" มีศักดินา 10000
ได้รับพระบรมโองการ ต่อจากเจ้าพระยาราชศุภมิตร (อ๊อด ศุภมิตร) และก่อนเจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร) กล่าวกันว่าเจ้าพระยารามราฆพเป็นเจ้าพระยาที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์การแต่งตั้งของกรุงรัตนโกสินทร์

ตำแหน่งในราชการ

  • ผู้สำเร็จราชการมหาดเล็ก
  • องคมนตรี
  • สมุหราชองครักษ์
  • ผู้ช่วยราชการทหารเรือ
  • ผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก รอ. ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • จเรกรมทหารรักษาวัง รอ. ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • อุปนายกเสือป่า
  • ราชเลขานุการพิเศษ ในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • ผู้บัญชาการโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ผู้บัญชาการกรมมหรสพ
  • อุปนายกผู้อำนวยการ วชิรพยาบาล
  • กรรมการที่ปรึกษาสำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดี
  • กรรมการที่ปรึกษาสภากาชาดสยาม
  • กรรมการที่ปรึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผู้ช่วยสภานายกราชนาวีสมาคมแห่งกรุงสยาม
  • สภานายกและกรรมการคณะฟุตบอลแห่งสยาม
  • สภานายกราชตฤณมัย แห่งสยาม
หลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว เจ้าพระยารามราฆพ จึงออกไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ จนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ถึงพ.ศ. 2477 จึงเดินทางกลับประเทศไทย ได้พำนักอยู่ที่บ้านบุญญาศรัย ถนนราชดำริ 1 ปี จึงมาพำนักที่บ้านนรสิงห์ ถึงปี พ.ศ. 2484 ขายบ้านนรสิงห์ให้รัฐบาล แล้วย้ายไปพำนักที่บ้านท่าเกษม ตำบลบางขุนพรหม ถึงปี พ.ศ. 2505 จึงขายบ้านท่าเกษมให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย (เป็นโรงพิมพ์ธนบัตร ในปัจจุบันนี้) ท้ายที่สุด ในรัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบ้านให้พำนัก ที่ถนนเจริญนคร ฝั่งธนบุรี ท่านขนานนามบ้านนี้ว่า "บ้านพระขรรค์ชัยศรี" และพำนัก ณ ที่นี้จนถึงอสัญกรรม
ด้านการเมือง ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลนครกรุงเทพฯ คนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2480 โดยมีพระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) เป็นปลัดเทศบาลนครกรุงเทพฯ คนแรก
เมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีแล้ว เจ้าพระยารามราฆพคงเป็นข้าราชการบำนาญและเป็นที่ปรึกษาราชการในพระราชสำนักต่อมาจนถึงสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ใน พ.ศ. 2506 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบสำนักพระราชวัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยารามราฆพ รับราชการในหน้าที่ สมุหพระราชวัง และ ประธานกรรมการพระราชสำนัก นอกจากนั้นท่านยังได้สนองพระเดชพระคุณในหน้าที่ต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกหลายหน้าที่ เช่น เป็นสภานายกสภาลูกเสือแห่งชาติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและอุปนายกในคณะกรรมการอำนวยการวชิราวุธวิทยาลัย กับยังเป็นประธานกรรมการ ในบริษัทเอกชนอีกหลายบริษัท ที่สำคัญ คือ เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้ง ธนาคารกรุงเทพ

ครอบครัว

ด้านชีวิตครอบครัว ท่านเจ้าพระยารามราฆพ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ สมรสพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ คุณหญิงประจวบ สุขุม ต.จ. ธิดาของมหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช และ ท่านผู้หญิงตลับ (สกุลเดิม ณ ป้อมเพ็ชร) ณ พระที่นั่งบรมพิมาน เมื่อ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2467 และสมรสกับภรรยาท่านอื่นๆ รวมมีบุตร-ธิดา 34 ท่าน ดังนี้
  • มีบุตร-ธิดา 2 ท่าน กับ คุณหญิงประจวบ สุขุม (สมรสพระราชทาน) ดังรายนามต่อไปนี้
    • คุณรุจิรา อมาตยกุล
    • คุณมานน พึ่งบุญ ณ อยุธยา
  • มีบุตร-ธิดา 7 ท่าน กับ คุณนงคราญ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ดังรายนามต่อไปนี้
    • คุณสุรางค์
    • คุณโสภางค์พึงพิศ
    • คุณจิตอนงค์
    • คุณบุษบงรำไพ
    • คุณอนงค์ในวัฒนา
    • คุณปิยานงราม
    • คุณความจำนงค์
  • มีบุตร-ธิดา 9 ท่าน กับ คุณบุญเรือน พึ่งบุญ ณ อยุธยา ดังรายนามต่อไปนี้
    • คุณพัฒนา
    • คุณบุษบานงเยาว์
    • คุณเชาว์ชาญบุรุษ
    • คุณพิสุทธิอาภรณ์
    • คุณบทจรพายัพทิศ
    • คุณจักรกฤษณ์กุมารา
    • คุณวนิดาบุญญาวาศ
    • คุณพรหมาศนารายณ์
    • คุณเจ้าสายสุดที่รัก
  • มีบุตร-ธิดา 7 ท่าน กับ คุณพิศวาส พึ่งบุญ ณ อยุธยา ดังรายนามต่อไปนี้
    • คุณศิริโสภา
    • คุณดวงสุดาผ่องศรี
    • คุณกุมารีหริลักษณ์
    • คุณทรงจักรวรภัณฑ์
    • คุณรามจันทร์วรพงษ์
    • คุณภุชงค์บรรจถรณ์
    • คุณจันทรรัศมี
  • มีบุตร-ธิดา 6 ท่าน กับ คุณถนอม พึ่งบุญ ณ อยุธยา ดังรายนามต่อไปนี้
    • คุณระฆุวงศ์
    • คุณนีละพงษ์อำไพ
    • คุณไกรกรีกูร
    • คุณประยูรกาฬวรรณ
    • คุณนวลจันทร์ธิดาราม
    • คุณโสมยามส่องฟ้า
  • มีบุตร-ธิดา 3 ท่าน กับ คุณพยุงวดี พึ่งบุญ ณ อยุธยา ดังรายนามต่อไปนี้
    • คุณสู่นคเรศ
    • คุณทักษิณีเขตจรดล
    • คุณอำพลปนัดดา
ในบั้นปลายชีวิต นอกจากการรับราชการแล้ว ท่านเจ้าพระยารามราฆพ ก็ใช้ชีวิตอยู่กับบ้าน ท่านมีกิจวัตรประจำวัน คือ การจดบันทึก ซึ่งทำมาตั้งแต่อยู่ในมัธยมวัย จนถึงอสัญกรรม นอกจากนี้ก็เพลิดเพลินอยู่กับการบำรุงดูแลเรือ ทั้งเรือยนต์และเรือกล อันเป็นของชอบของท่านตั้งแต่ยังรับราชการ และไปพักตากอากาศที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทุกๆปี
พลเอก เจ้าพระยารามราฆพ ถึงอสัญกรรมด้วยโรคหัวใจ ณ ตึกธนาคารกรุงเทพ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2510 สิริรวมอายุได้ 77 ปี

บ้านนรสิงห์

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างบ้านนรสิงห์ พระราชทานแก่พระยาประสิทธิ์ศุภการ ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2484 ท่านได้เสนอขายบ้านนี้ให้แก่รัฐบาล เนื่องจากไม่สามารถรับภาระการดูแลบำรุงรักษาได้ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2484 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เห็นว่าควรซื้อบ้านนรสิงห์เพื่อทำเป็นสถานที่รับรองแขกเมือง รัฐบาลได้ให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้ซื้อบ้านหลังนี้ มอบให้สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดูแล ใช้เป็นสถานที่สำหรับรับรองแขกเมืองและย้ายสำนักนายกรัฐมนตรี จากวังสวนกุหลาบ มาอยู่ที่นี่
บ้านนรสิงห์ เปลี่ยนชื่อเป็น "ทำเนียบสามัคคีชัย" เมื่อ พ.ศ. 2484 และต่อมาในปี พ.ศ. 2512 ได้ซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์ จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นของสำนักนายกรัฐมนตรี และเปลี่ยนชื่อเป็น "ทำเนียบรัฐบาล"

สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศสยาม

ในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2458 มีประกาศราชกิจจานุเบกษาว่าด้วยการจัดตั้ง "สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์" โดยมีพระยาประสิทธิ์ศุภการเป็นสภานายกสมาคมฯ คนแรกของวงการลูกหนังไทย และคณะสภากรรมการส่วนใหญ่ คือกรรมการคณะฟุตบอลแห่งสยาม พระยาประสิทธิ์ศุภการดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฟุตบอลถึง พ.ศ. 2462 จึงลาออกจากตำแหน่ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ขอบคุณคะ
ชัญญากัญ

ตระกูล

สวัสดีคะทุกคนวันนี้มารู้จักคนสำคัญในตระกูลของเอิงกัน อ้าวสงสัยล่ะสิว่าจะรู้จักทำไม 555 เอิงอยากให้รู้จักอ่ะ เอิงไม่เคยรู้เรื่องของคนในตระกูลเท่าไหร่หรอกคะจนคุณแม่และคุณยายเล่าให้ฟังเมื่อนานมาแล้วว่าใครที่อยู่ในตระกูลเราบ้าง มีครั้งนึงเอิงไปสนามจันทร์ถ้าใครเคยไปจะนึกออกว่ามันจะมีทางเชื่อมตึกใช่ไหมคะแล้วระหว่างทางเดินก็จะมีรูปติดอยู่ที่ฝาพนัง สำคัญตรงที่ว่ามีรูปคนในตระกูลเอิงอยู่ด้วยคะ ถ้าใครอยากรู้ว่ารูปไหนก็ไปหารูปที่มีรถอ่ะเอิงอธิบายไม่ถูกแต่ถ่ายคู่กะรถอ่ะเอิงจำได้ 555 งั้นไปรู้จักตระกูลเอิงกันเลยยยย
พระยาอนิรุทธเทวา
(หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ)
นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2468 – พ.ศ. 2471
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าพระยานเรนทรราชา (หม่อมหลวงอุรา คเนจร)
ถัดไปพระเจริญวิศวกรรม (เจริญ เชนะกุล)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 พฤษภาคม พ.ศ. 2436
เสียชีวิต11 มกราคม พ.ศ. 2494 (58 ปี)
บ้านบรรทมสินธุ์ เทเวศร์ กรุงเทพฯ
บิดาพระยาประสิทธิ์ศุภการ (หม่อมราชวงศ์ละม้าย พึ่งบุญ)
มารดาพระนมทัต พึ่งบุญ ณ อยุธยา
คู่สมรสคุณหญิงเฉลา อนิรุทธเทวา
บุตรนางงามเฉิด อนิรุทธเทวา
คุณหญิงงามฉลวย บุนนาค
พลเอก เฟื่องเฉลย อนิรุทธเทวา

ประวัติ

มหาเสวกเอก พลตรี พระยาอนิรุทธเทวา นามเดิม หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 เป็นบุตร ของ พระยาประสิทธิ์ศุภการ ( หม่อมราชวงศ์ละม้าย พึ่งบุญ ) และ พระนมทัต พึ่งบุญ ณ อยุธยา พระนมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ท่านมีพี่-น้อง ร่วมมารดา ดังนี้
ได้เข้ารับการศึกษาในสำนักเรียนวัดมหาธาตุ เป็นขั้นแรก จนจบหลักสูตรชั้น 1 จากนั้น มารดาจึงนำขึ้นถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังทรงดำรงพระอิสริยยศ เป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ณ พระราชวังสราญรมย์ ได้เป็นมหาดเล็กห้องบรรทม ในขั้นแรก เมื่อ พ.ศ. 2449 ต่อมารับราชการจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย จนได้รับการเลื่อนตำแหน่งเรื่อยมา คือ

ตำแหน่งในราชการ

  • วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2453 เป็นนายรองขัน หุ้มแพร
  • วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2454 เป็นนายสุนทรมโนมัย
  • วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 เป็นจ่ายง
  • วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2456 เป็นหลวงศักดิ์นายเวร
  • วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2457 เป็นเจ้าหมื่นศรีสรรักษ์
  • วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2459 เป็น พระยาอนิรุทธเทวา
ตำแหน่งในราชการ คงรับราชการในตำแหน่งห้องพระบรรทมตลอดมา จนได้เป็นจางวางห้องที่พระบรรทม ภายหลัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นอธิบดีกรมมหาดเล็ก และผู้บัญชาการกรมมหรสพ และคงดำรงตำแหน่งนี้โดยตลอด จนออกจากราชการ เพราะยุบเลิกและเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ราชการในกรมมหาดเล็ก เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2469
พระยาอนิรุทธเทวา มีความสามารถทางนาฏศิลป์ ในตัวพระลักษมณ์ ได้รับการฝึกหัดท่าละคร จาก พระยานัฏกานุรักษ์ ( ทองดี สุวรรณภารต ) ครูละครผู้ใหญ่ และยังมีความสามารถในการแสดงละครพูด ละครร้อง อันเป็นบทพระราชนิพนธ์ด้วย การแสดงละครร้อง ละครพูด นั้น ท่านมักรับบทเป็นตัวนาง
ภายหลังเมื่อออกจากราชการแล้ว พระยาอนิรุทธเทวา คงใช้ชีวิตอยู่กับการบำรุงนาฏศิลป์ มหรสพ ท่านมีคณะละครเป็นส่วนตัวของท่านเองคณะหนึ่ง ชื่อว่า "คณะละครบรรทมสินธุ์" ( ตามชื่อบ้านของท่าน ) และยังได้ช่วยเหลือดูแล คณะละคร ของ ท่านเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ ในรัชกาลที่ 5 อีกส่วนหนึ่งด้วย ภายหลังท่านจึงรับมรดกละครทั้งหมด มาดูแล เมื่อ ท่านเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ ถึงพิราลัย ใน พ.ศ. 2486 ซึ่งคณะละครทั้งสองนี้ ได้ก่อกำเนิดบุคคลสำคัญทางวงการนาฏศิลป์เพิ่งขึ้นหลายท่าน บางท่านภายหลังยังได้มารับราชการในกรมศิลปากรต่อมา
ถือได้ว่า พระยาอนิรุทธเทวา เป็นบุคคลสำคัญท่านหนึ่ง ที่ได้อุปถัมภ์บำรุงนาฏศิลป์ไทยในช่วงที่กำลงตกต่ำ คือ ช่วงหลังสิ้นรัชกาลที่ 6 , หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ตลอดจนช่วงรัฐนิยม ของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ให้ดำรงอยู่ไม่เสื่อมสูญไปจากสังคมไทย จนกระทั่ง เมื่อกรมศิลปากรเริ่มฟื้นฟูการแสดงนาฏศิลป์ให้ประชาชนชมอีกครั้ง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านก็อุตสาห ไปชมการแสดง และ ช่วยวิจารณ์ในข้อบกพร่องในการแสดง ให้กับกรมศิลปากรอีกหลายครั้ง

ครอบครัว

ด้านชีวิตครอบครัว ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ สมรสพระราชทาน กับ คุณหญิงเฉลา อนิรุทธเทวา ท.จ. เมื่อ พ.ศ. 2467 มีบุตร-ธิดา ร่วมกัน 3 คน คือ
  • นางงามเฉิด อนิรุทธเทวา
  • คุณหญิงงามฉลวย บุนนาค
  • พลเอก เฟื่องเฉลย อนิรุทธเทวา

ปัจฉิมวัย

บั้นปลายชีวิต พระยาอนิรุทธเทวา ได้ป่วยด้วยโรคหัวใจพิการ อาการได้ทรุดลงตลอดมา จนถึงแก่อนิจกรรม ณ บ้านบรรทมสินธุ์ เทเวศร์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2494 เวลา 9.20 น. รวมอายุได้ 58 ปี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์



เป็นไงกันบ้างคะยังๆๆไม่ได้มีแค่คนเดียวนะไปดูอีกคนกันในบล็อกหน้านะคะ

ขอบคุณคะ

ชัญญากัญ

บุคคลสำคัญด้านดนตรีไทย

พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์  กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม
 
กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม
               กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม  มีพระนามเดิมว่า  พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์   เป็นพระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  กับเจ้าจอมมารดารมรกต  ประสูติเมื่อวันที่  13  กันยายน  พ.ศ.  2425   ตรงกับวันพุธ  ขึ้น  7  ค่ำ  เดือน  10  ปีมะเส็ง  รัตนโกสินทร์ศก  101  ทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ  เมื่อเสด็จกลับได้ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการ  ในปี  พ.ศ.  2451  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ตั้งพระเจ้าลูกยาเธอ  พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์  เป็น กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม
–ความสามารถและผลงาน–
               กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม  ทรงสนพระทัยดนตรีไทยมากถึงกับมีวงปีพาทย์วงหนึ่งเรียกกันว่า  “วงพระองค์เพ็ญ”   ทรงเป็นนักแต่งเพลงมราสามารถพระองค์หนึ่ง  โดยได้ทรงแต่งเพลง “ลาวดวงเดือน”  ซึ่งเป็นเพลงที่นิยมกันแพร่หลายในปัจจุบัน
              สำหรับเพลงลาวดวงเดือนนี้  พระองค์ท่านแต่งขึ้นต้องการให้มีสำเนียงลาว  เนื่องจากโปรดทำนองและลีลาเพลง  “ลาวดำเนินทราย”  เมื่อคราวที่เสด็จตรวจราชการ  ภาคอีสาน  ระหว่างที่ประทับแรมอยู่ตามทางจึงทรงแต่งเพลงลาวดวงเดือนขึ้น  เพื่อให้คู่กับเพลงลาวดำเนินทราย   ประทานชื่อว่า  “เพลงลาวดำเนินเกวียน”   ได้มีผู้กล่าวว่า  แรงบันดาลใจที่พระองค์แต่งนั้นเนื่องจากผิดหวังในความรัก  คือ  เมื่อพระองค์จบการศึกษาจากประเทศอังกฤษ  เสด็จขึ้นไปเที่ยวเชียงใหม่  และได้พบกับเจ้าหญิงชมชื่น  ธิดาเจ้าราชสัมพันธวงศ์  พระองค์สนพระทัยมากจนถึงกับให้ผู้ใหญ่ในมณฑ,พายัพเป็นเถ้าแก่เจรจาสู่ขอแต่ได้รับคำตอบจากเจ้าราชสัมพันธวงศ์ว่าขอให้เจ้าหญิงชมชื่นอายุ  18  ปีก่อน  เพราะขณะนั้นอายุเพียง  16  ปี  และขอให้ได้รับพระบรมราชนุญาตด้วย  เมื่อกรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมกลับถึงกรุงเทพฯ  ก็ได้รับการทัดทานจากพระบรมวงศานุวงศ์มาก  พระองค์ได้รับความผิดหวัง  จึงระบายความรักด้วยความอาลัยลงในพระนิพนธ์บทร้อง  “เพลงลาวดวงเดือน”  ซึ่งเป็นเพลงที่มีความหมายไพเราะอ่อนหวามจับใจผู้ฟังมาจนทุกวันนี้ พระองค์สิ้นพระชนม์ (ประชวนพระโรคปอด)  เมื่อวันที่  11  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2452  มีพระชนมายุเพียง  28  พรรษา

ขอบคุณคะ
ชัญญากัญ

บุคคลสำคัญด้านดนตรีไทย

ครูบุญยงค์ เกตุคง
               นายบุญยงค์ เกตุคง เริ่มเรียนดนตรีกับครูทองหล่อ(ละม้าย) มีขันทอง ต่อมาได้เรียนและต่อเพลงกับครูดนตรีที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน เช่น
 
บุญยงค์ เกตุคง
ครูหรั่ง พุ่มทองสุข ครูชื้น ดุริยประณีต ครูชั้น ดุริยประณีต ครูเพชร จรรย์นาฏ ครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) และครูพุ่ม ปาปุยวาทย์ รับราชการเป็นนักดนตรีประจำวงกรมประชาสัมพันธ์ ต่อมาประจำสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม แล้วย้ายไปสังกัดกรุงเทพมหานคร และได้เป็นหัวหน้าวงดนตรีไทยกรุงเทพมหานครจนเกษียณอายุ นายบุญยงค์ เกตุคงเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในทางดนตรีอย่างยิ่ง บรรเลงปี่พาทย์ได้ทุกชนิด โดยเฉพาะระนาดเอกซึ่งได้รับการยกย่องเป็นพิเศษ ร่วมบรรเลงกับวงดนตรีต่างๆ เช่นวงนายทองใบ รุ่งเรือง วงดุริยประณีต วงพาทยโกศล วงนายเพชร จรรย์นาฏ ร่วมมือกับนายบุญยัง และนายบุญสม มีสมวงศ์(พรภิรมย์) จัดตั้งคณะลิเกใช้ชื่อคณะว่า เกตุคงดำรงศิลป์ ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดลิเกทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อพ.ศ. 2500 ศิษย์ ที่มีชื่อเสียงคือ บรูซ แกสตัน(Bruce Gaston) ซึ่งเป็นนักดนตรีชาวอเมริกัน ได้ร่วมมือกันก่อตั้ง วงฟองน้ำ ขึ้นและจัดทำเพลงชุดต่างๆโดยใช้เครื่องดนตรีไทยผสมเครื่องอื่นๆ นายบุญยงค์ เกตุคง ได้แต่งเพลงไว้จำนวนมาก เช่น โหมโรงแว่นเทียนชัย โหมโรงจุฬามณี โหมโรงสามสถาบัน เพลงเทพชาตรี เถา เพลงสร้อยลำปาง เถา เพลงวัฒนาเวียตนาม เถา เพลงชเวดากอง เถา เพลงสยามานุสสติ เถา เพลงนกกระจอกทอง เถา เพลงขอมกล่อมลูก เถา เพลงเดือนหงายกลางป่า เถา และ เพลงตระนาฏราช นายบุญยงค์ เกตุคง ได้รับพระราชทานโล่ห์ เกีรยติยศจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะนักดนตรีไทยตัวอย่าง เมื่อพ.ศ.2524 ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดง (ดนตรีไทย) ประจำปีพ.ศ.2531 และเป็นภาคีสมาชิกประเภทวิจิตรศิลป์ สำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน
               ครูบุญยงค์ เกตุคงเกิดเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2463 เป็นบุตรนายเที่ยงกับนางเขียน ชาวกรุงเทพมหานคร(ฝั่งธนบุรี) ภรรยาชื่อ พายัพ มีบุตรี 1 คน มีน้องชายชื่อนายบุญยัง เกตุคง เป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียง

ขอบคุณคะ
ชัญญากัญ

บุคคลสำคัญด้านดนตรีไทย

พระยาประสานดุริยศัพท์(แปลก ประสานศัพท์)
 
พระยาประสานดุริยศัพท์
                พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เป็นบุตรคนโตของขุนกนกเรขา (ทองดี)กับนางนิ่ม เกิดเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2403 ตรงกับวันอังคาร ณ บ้านเลขที่ 81 ตรอกไข่ ถนนบำรุงเมือง ตำบลหลังวัดเทพธิดากรุงเทพมหานคร ท่านได้เรียนปี่ชวากับครูชื่อ “หนูดำ” ส่วนวิชาดนตรีปี่พาทย์อย่างอื่น ได้ศึกษาอย่างจริงจังกับครูช้อย สุนทรวาทิน (บิดา) จนบรรลุแตกฉาน ท่านเข้ารับราชการ ตั้งแต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระยศเป็นพระยุพราช ได้ทูลขอพระราชทานบรรดาศักดิ์จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้นายแปลกเป็นที่“ขุนประสานดุริยศัพท์”นับจากนั้นก็ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์มาเป็นลำดับ จนได้เป็นที่ “พระยาประสานดุริยศัพท์” เจ้ากรมปี่พาทย์หลวง ในสมัยรัชกาลที่ 6  ความรู้ความสามารถของพระยาประสานดุริยศัพท์นั้น เป็นที่กล่าวขวัญเรื่องลือว่า ท่านเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยฝีมือ ความรู้ ปฏิภาณ ไหวพริบ ท่านเป็นครู และเป็นศิลปินที่หาได้ยากยิ่ง เมื่อปี พ.ศ.2428 ท่านได้รับเลือกให้ไปร่วมฉลองครบรอบร้อยปีของพิพิธภัณฑ์เมืองอวิมปลีย์ที่ประเทศอังกฤษผลของการบรรเลงขลุ่ยของท่านเป็นที่พอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียเป็นอย่างยิ่งถึงกับรับสั่งขอฟังเพลงขลุ่ยเป็นการส่วนพระองค์ในพระราชวังบัคกิ้งแฮมอีกครั้งการบรรเลงครั้งหลังนี้สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียทรงลุกจากที่ประทับและใช้พระหัตถ์ลูบคอพระยาประสานฯพร้อมทั้งรับสั่งถามว่า “เวลาเป่านั้นหายใจบ้างหรือไม่ เพราะเสียงขลุ่ยดังกังวานอยู่ตลอดเวลา”
               พระยาประสานดุริยศัพท์ได้แต่งเพลงไว้ดังนี้คือ เพลงเชิดจั่น 3 ชั้น พม่าหัวท่อน เขมรราชบุรี เขมรปากท่อ เขมรใหญ่ ถอนสมอ ทองย่อน เทพรัญจวน แมลงภู่ทอง สามไม้ใน อาถรรณ์ พราหมณ์เข้าโบสถ์ ธรณีร้องไห้ มอญร้องไห้ เป็นต้น ความสามารถทางดนตรีของท่านนั้น ทำให้ท่านมีลูกศิษย์ที่มีความสามารถเป็นทวีคูณขึ้นไป และศิษย์ของท่านเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปคือพระประดับดุริยกิจ (แหยม วิณิณ) พระเพลงไพเราะ (โสม สุวาทิต) หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) หลวงบรรเลงเลิศเลอ (กร กรวาทิน) พระยาภูมิเสวิน (จิตร จิตตเสรี) อาจารย์มนตรี ตราโมท ครูเฉลิม บัวทั่ง เป็นต้น พระยาประสานดุริยศัพท์ ป่วยโดยโรคชรา และถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 105 ปี ในปี พ.ศ. 2467
ขอบคุณคะ
ชัญญากัญ

บุคคลสำคัญด้านดนตรีไทย

ครูมนตรี ตราโมท
 
มนตรี ตราโมท
               อาจารย์มนตรี  ตราโมท  เดิมชื่อ  บุญธรรม  ตราโมท  เกิดวันที่  17  มิถุนายน  พ.ศ.  2443  ที่บ้านท่าพี่เลี้ยง   อำเภอเมือง  จังหวัดสุพรรณบุรี  เป็นบุตรนายยิ้ม  และนางทองอยู่  เมื่อ  พ.ศ.  2475  สมรสกับนางสาวลิ้นจี่  (บุรานนท์)  มีบุตรที่ยังมีชีวิตอยู่  2  คน  คือ  นายฤทธี  และนายศิลปี  ต่อมาเมื่อนางลิ้นจี่  ถึงแก่กรรมจึงแต่งงานกับนางสาวพูนทรัพย์  (นาฏประเสริฐ)  มีบุตร  2  คน  คือ  นางสาวดนตรี  และนายญาณี
–ความสามารถและผลงาน–
               อาจารย์มนตรี  ตราโมท  เริ่มการศึกษา   โดยเข้าเรียนที่โรงเรียนประจำจังหวัดสุพรรณบุรี  (ปรีชาพิทยากร)  สอบได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 ภายหลังไปเรียนต่อที่โรงเรียนพรานหลวง  ในพระบรมราชูปถัมภ์  จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6
               อาจารย์มนตรี  สนใจดนตรีมาตั้งแต่เด็ก  เนื่องจากบ้านอยู่ใกล้วัดสุวรรณภูมิ  ซึ่งที่วัดนี้มีวงปี่พาทย์และมีการฝึกซ้อมอยู่เสมอ  จึงได้ยินเสียงเพลงจากวงปี่พาทย์อยู่เป็นประจำ   จนในที่สุดได้รู้จักกับนักดนตรีในวงและขอเข้าไปเล่นด้วย  เมื่อมีการบรรเลงก็มักจะไปช่วยตีฆ้องเล็กหรือทุ้มเหล็กด้วยเสมอ
               เมื่อจบมัธยมศึกษาปีที่  3  อาจารย์มนตรีตั้งใจจะมาเรียนต่อในกรุงเทพฯ  แต่บังเอญเจ็บกระเสาะกระแสะเรื่อยมา  จึงไม่ได้เรียนต่อ  ครูสมบุญ  นักฆ้องซึ่งเป็นครูปี่พาทย์ประจำวงที่วัดสุวรรณภูมิ  ชวนให้มาหัดปี่พาทย์  จึงได้เริ่มเรียนอย่างจริงจังตั้งแต่นั้นมาประมาณ  2  ปี  และได้เป็นนักดนตรีประจำวงปี่พาทย์  จังหวัดสุพรรณบุรี
               ต่อมา  ได้ไปศึกษาเพิ่มเติมด้านปี่พาทย์ที่จังหวัดสมุทรสาคร  ราว  พ.ศ.  2456  ที่บ้านครูสมบุญ  สมสุวรรณ  ที่บ้านนี้มีวงปี่พาทย์และแตรวง  อาจารย์มนตรีจึงได้ฝึกทั้ง  2  อย่างคือ ด้านปี่พาทย์  ฝึกระนาดเอกและฆ้องวงใหญ่  ด้านแตรวง  ฝึกเป่าคลาริเน็ต  นอกจากนี้ครูสมบุญยังได้แนะวิธีแต่งเพลงให้ด้วย
               ในปี   พ.ศ.  2460 อาจารย์มนตรี  ได้เข้ามาสมัครรับราชการในกรมพิณพาทย์หลวง  ซึ่งมีพระยาประสานดุริยศัพท์  (แปลก  ประสานศัพท์)  เป็นเจ้ากรม  ขณะที่ทำงานอยู่ก็ได้เรียนโรงเรียนพรานหลวงด้วยจนจบมัธยมศึกษาปีที่  6
               อาจารย์มนตรี  ได้รับเลือกเป็นนักดนตรีประจำวงข้าหลวงเดิม  เป็นวงที่จะต้องตามเสด็จทุกๆแห่ง  โดยพระยาประสานดุริยศัพท์จะเป็นผู้ควบคุมทุกครั้ง  อาจารย์มนตรี  เริ่มแต่งเพลงเมื่ออายุ  20  ปี  เพลงแรกที่แต่ง  คือ  เพลงต้อยติ่ง  3  ชั้น เมื่อ  พ.ศ.  2467  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวน  แพทย์ถวายการแนะนำให้ทรงฟังนิทานหรือดนตรีเบา  ประกอบกับเสวยพระโอสถ  กรมมหรสพจึงจัดวงเครื่องสายเบาๆ บรรเลงถวาย  วงเครื่องสายนี้ได้เพิ่มขิมขึ้น  อาจารย์มนตรีได้รับหน้าที่เป็นผู้ตีขิม  ในวังหลวงเป็นคนแรก  บรรเลงถวายทุกวันจนพระอาการหายเป็นปกติ

ขอบคุณคะ
ชัญญากัญ

บุคคลสำคัญด้านดนตรีไทย

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
               พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ประสูติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายฉิม เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  ตลอดระยะเวลา 15 ปี ที่ทรงครองราชย์นั้น ประเทศไทยอยู่ในความสงบ ไม่มีการทำสงคราม พระมหากษัตริย์ทรงทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในทุกๆด้านอย่างเต็มที่ นับได้ว่าในสมัยของพระองค์ศิลปวัฒนธรรมในทุกๆด้านเจริญถึงสุดขีด เป็นแบบอย่างจนถึงปัจจุบัน
               พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดดนตรีไทยมาก เครื่องดนตรีไทยที่ทรงโปรดเป็นพิเศษ คือ ซอสามสาย ทรงมีซอสามสายคู่พระหัตถ์อยู่คันหนึ่งชื่อว่า ซอสายฟ้าฟาด  ซึ่งจะทรงซอสามสายนี้ในเวลาว่างพระราชกิจ
               ในคืนหนึ่งหลังจากทรงซอสามสายแล้วเข้าได้ทรงพระสุบินว่าพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในสถานที่แห่งหนึ่ง ซึ่งปรากฏในพระสุบิตนิมิตนั้นว่า เป็นรมณียสถานสวยงามไม่มีแห่งใดในโลกเสมอเหมือน ขณะนั้นได้ทอดพระเนตรเห็นดวงจันทร์ลอยเข้ามาใกล้พระองค์และได้สาดแสงสว่างไปทั่วบริเวณ และในขณะนั้นได้ทรงสดับเสียงดนตรีทิพย์ ซึ่งมีความไพเราะเสนาะพระกรรณเป็นที่ยิ่ง พระองค์จึงเสด็จประทับทอดพระเนตรทิวทัศน์อันงดงาม และทรงสดับเสียงดนตรีอันไพเราะอยู่ด้วยความเพลิดเพลิน ครั้นแล้วดวงจันทร์ก็ค่อยๆลอยถอยห่างออกไปในท้องฟ้า ทั้งสำเนียงดนตรีทิพย์นั้นก็ค่อยๆจางจนหมดเสียง พลันก็ตื่นจากบรรทม
               แม้เสด็จตื่นจากบรรทมแล้วเสียงดนตรีในพระสุบินก็ยังก้องอยู่ในพระโสต จึงได้โปรดให้ตามเจ้าพนักงานดนตรีเข้ามาต่อเพลงที่ทรงพระสุบินนั้นไว้ แล้วพระราชทานชื่อว่า “เพลงบุหลันลอยเลื่อน” หรือ “บุหลันลอยฟ้า” หรือบางทีก็เรียกว่า “เพลงสรรเสริญพระจันทร์” ซึ่งนักดนตรีจำสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ แต่ประชาชนมักจะเรียกเพลงนี้ว่า “เพลงทรงพระสุบิน” เพลงนี้เคยใช้สรรเสริญพระบารมีสมัยหนึ่ง และเมื่อมีเพลงสรรเสริญพระบารมีทำนองอื่นเกิดขึ้นมาอีก เพลงนี้จึงเรียกกันว่า “เพลงสรรเสริญพระบารมีไทย”
เนื่องจากพระองค์ทรงพอพระทัยในดนตรีไทยโดยเฉพาะซอสามสาย ได้ประกาศให้ตราภูมิคุ้มห้าม ยกเว้นภาษีอากรให้แก่สวนมะพร้าว ชนิดที่ทำกระโหลกซอได้ เพราะมะพร้าวชนิดนี้หายากมากจึงทรงอนุรักษ์ไว้เป็นแบบอย่าง


ขอบคุณคะ
ชัญญากัญ