วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ตระกูล

สวัสดีคะทุกคนวันนี้มารู้จักคนสำคัญในตระกูลของเอิงกัน อ้าวสงสัยล่ะสิว่าจะรู้จักทำไม 555 เอิงอยากให้รู้จักอ่ะ เอิงไม่เคยรู้เรื่องของคนในตระกูลเท่าไหร่หรอกคะจนคุณแม่และคุณยายเล่าให้ฟังเมื่อนานมาแล้วว่าใครที่อยู่ในตระกูลเราบ้าง มีครั้งนึงเอิงไปสนามจันทร์ถ้าใครเคยไปจะนึกออกว่ามันจะมีทางเชื่อมตึกใช่ไหมคะแล้วระหว่างทางเดินก็จะมีรูปติดอยู่ที่ฝาพนัง สำคัญตรงที่ว่ามีรูปคนในตระกูลเอิงอยู่ด้วยคะ ถ้าใครอยากรู้ว่ารูปไหนก็ไปหารูปที่มีรถอ่ะเอิงอธิบายไม่ถูกแต่ถ่ายคู่กะรถอ่ะเอิงจำได้ 555 งั้นไปรู้จักตระกูลเอิงกันเลยยยย
พระยาอนิรุทธเทวา
(หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ)
นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2468 – พ.ศ. 2471
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าพระยานเรนทรราชา (หม่อมหลวงอุรา คเนจร)
ถัดไปพระเจริญวิศวกรรม (เจริญ เชนะกุล)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 พฤษภาคม พ.ศ. 2436
เสียชีวิต11 มกราคม พ.ศ. 2494 (58 ปี)
บ้านบรรทมสินธุ์ เทเวศร์ กรุงเทพฯ
บิดาพระยาประสิทธิ์ศุภการ (หม่อมราชวงศ์ละม้าย พึ่งบุญ)
มารดาพระนมทัต พึ่งบุญ ณ อยุธยา
คู่สมรสคุณหญิงเฉลา อนิรุทธเทวา
บุตรนางงามเฉิด อนิรุทธเทวา
คุณหญิงงามฉลวย บุนนาค
พลเอก เฟื่องเฉลย อนิรุทธเทวา

ประวัติ

มหาเสวกเอก พลตรี พระยาอนิรุทธเทวา นามเดิม หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 เป็นบุตร ของ พระยาประสิทธิ์ศุภการ ( หม่อมราชวงศ์ละม้าย พึ่งบุญ ) และ พระนมทัต พึ่งบุญ ณ อยุธยา พระนมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ท่านมีพี่-น้อง ร่วมมารดา ดังนี้
ได้เข้ารับการศึกษาในสำนักเรียนวัดมหาธาตุ เป็นขั้นแรก จนจบหลักสูตรชั้น 1 จากนั้น มารดาจึงนำขึ้นถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังทรงดำรงพระอิสริยยศ เป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ณ พระราชวังสราญรมย์ ได้เป็นมหาดเล็กห้องบรรทม ในขั้นแรก เมื่อ พ.ศ. 2449 ต่อมารับราชการจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย จนได้รับการเลื่อนตำแหน่งเรื่อยมา คือ

ตำแหน่งในราชการ

  • วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2453 เป็นนายรองขัน หุ้มแพร
  • วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2454 เป็นนายสุนทรมโนมัย
  • วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 เป็นจ่ายง
  • วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2456 เป็นหลวงศักดิ์นายเวร
  • วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2457 เป็นเจ้าหมื่นศรีสรรักษ์
  • วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2459 เป็น พระยาอนิรุทธเทวา
ตำแหน่งในราชการ คงรับราชการในตำแหน่งห้องพระบรรทมตลอดมา จนได้เป็นจางวางห้องที่พระบรรทม ภายหลัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นอธิบดีกรมมหาดเล็ก และผู้บัญชาการกรมมหรสพ และคงดำรงตำแหน่งนี้โดยตลอด จนออกจากราชการ เพราะยุบเลิกและเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ราชการในกรมมหาดเล็ก เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2469
พระยาอนิรุทธเทวา มีความสามารถทางนาฏศิลป์ ในตัวพระลักษมณ์ ได้รับการฝึกหัดท่าละคร จาก พระยานัฏกานุรักษ์ ( ทองดี สุวรรณภารต ) ครูละครผู้ใหญ่ และยังมีความสามารถในการแสดงละครพูด ละครร้อง อันเป็นบทพระราชนิพนธ์ด้วย การแสดงละครร้อง ละครพูด นั้น ท่านมักรับบทเป็นตัวนาง
ภายหลังเมื่อออกจากราชการแล้ว พระยาอนิรุทธเทวา คงใช้ชีวิตอยู่กับการบำรุงนาฏศิลป์ มหรสพ ท่านมีคณะละครเป็นส่วนตัวของท่านเองคณะหนึ่ง ชื่อว่า "คณะละครบรรทมสินธุ์" ( ตามชื่อบ้านของท่าน ) และยังได้ช่วยเหลือดูแล คณะละคร ของ ท่านเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ ในรัชกาลที่ 5 อีกส่วนหนึ่งด้วย ภายหลังท่านจึงรับมรดกละครทั้งหมด มาดูแล เมื่อ ท่านเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ ถึงพิราลัย ใน พ.ศ. 2486 ซึ่งคณะละครทั้งสองนี้ ได้ก่อกำเนิดบุคคลสำคัญทางวงการนาฏศิลป์เพิ่งขึ้นหลายท่าน บางท่านภายหลังยังได้มารับราชการในกรมศิลปากรต่อมา
ถือได้ว่า พระยาอนิรุทธเทวา เป็นบุคคลสำคัญท่านหนึ่ง ที่ได้อุปถัมภ์บำรุงนาฏศิลป์ไทยในช่วงที่กำลงตกต่ำ คือ ช่วงหลังสิ้นรัชกาลที่ 6 , หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ตลอดจนช่วงรัฐนิยม ของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ให้ดำรงอยู่ไม่เสื่อมสูญไปจากสังคมไทย จนกระทั่ง เมื่อกรมศิลปากรเริ่มฟื้นฟูการแสดงนาฏศิลป์ให้ประชาชนชมอีกครั้ง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านก็อุตสาห ไปชมการแสดง และ ช่วยวิจารณ์ในข้อบกพร่องในการแสดง ให้กับกรมศิลปากรอีกหลายครั้ง

ครอบครัว

ด้านชีวิตครอบครัว ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ สมรสพระราชทาน กับ คุณหญิงเฉลา อนิรุทธเทวา ท.จ. เมื่อ พ.ศ. 2467 มีบุตร-ธิดา ร่วมกัน 3 คน คือ
  • นางงามเฉิด อนิรุทธเทวา
  • คุณหญิงงามฉลวย บุนนาค
  • พลเอก เฟื่องเฉลย อนิรุทธเทวา

ปัจฉิมวัย

บั้นปลายชีวิต พระยาอนิรุทธเทวา ได้ป่วยด้วยโรคหัวใจพิการ อาการได้ทรุดลงตลอดมา จนถึงแก่อนิจกรรม ณ บ้านบรรทมสินธุ์ เทเวศร์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2494 เวลา 9.20 น. รวมอายุได้ 58 ปี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์



เป็นไงกันบ้างคะยังๆๆไม่ได้มีแค่คนเดียวนะไปดูอีกคนกันในบล็อกหน้านะคะ

ขอบคุณคะ

ชัญญากัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น