วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559

โตเกียวทาวเวอร์

โตเกียวทาวเวอร์ (ญี่ปุ่น: 東京タワー; โทเกียวทะวา; อังกฤษ: Tokyo Tower) คือหอคอยสื่อสารขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเขตมินะโตะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีความสูง 332.6 เมตร (1,091 ฟุต)สร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958)

นอกจากจะเป็นหอคอยที่ไว้ส่งสัญญาณคลื่นวิทยุโทรทัศน์ต่างๆ เช่น NHK TBS ฯลฯ แล้ว โตเกียวทาวเวอร์ยังเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของกรุงโตเกียวอีกด้วย โดยปีหนึ่งจะมีคนเข้าชมหอมากกว่า 2 ล้าน 5 แสนคน  บริเวณหอคอยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน ส่วนล่างสุดเป็นอาคารสูง 4 ชั้นที่ตั้งอยู่ใต้หอโดยตรง ภายในประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์ ร้านคา ภัตตาคาร ฯลฯ อีก 2 ส่วนที่เหลือเป็นจุดชมทัศนียภาพของหอคอย ตั้งอยู่บนความสูง 150 เมตร และ 250 เมตรตามลำดับประวัติ

พฤษภาคม พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) - ก่อตั้งบริษัท เสาส่งสัญญาณญี่ปุ่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่บริหารจัดการหอคอย
29 มิถุนายน พ.ศ. 2500 - ลงมือการสร้าง
14 ตุลาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) - สร้างแล้วเสร็จ
7 ธันวาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) - เปิดให้เข้าชม
23 ธันวาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) - เปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการ
10 มกราคม พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - สถานีโทรทัศน์แห่งชาติและบริการสาธารณะ เพื่อการศึกษา (NHK)ทำการออกอากาศผ่านระบบ VHF ช่อง 1
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - สถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (NET) หรือสถานีโทรทัศน์อะซะฮิทำการออกกากาศผ่านระบบ VHF ช่อง 10
1 มีนาคม พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - สถานีโทรทัศน์ฟูจิ ทำการออกอากาศผ่านระบบ VHF ช่อง 8
เมษายน พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - เปลี่ยนเสาส่งสัญญาณของสถานีโทรทัศน์ NHK เพื่อการศึกษาไปไว้ที่เสาส่งสัญญาณคิโอะอิ แล้วนำเสาส่งสัญญาณของสถานีโรทัศน์ NHK หลักมาใส่แทน
17 มกราคม พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) - ย้ายเสาส่งสัญญาณของ TBS เข้ามาติดตั้ง (VHF ช่อง 6)
12 เมษายน พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) - ทีวีโตเกียวออกอากาศผ่านระบบ VHF ช่อง 12
26 เมษายน พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) - กระจายเสียงคลื่นวิทยุ FM TOKYO ในคลื่น FM 80.0 MHz เป็นครั้งแรก พร้อมกับย้ายเสาส่งสัญญาณของ NHK-FM มาที่หอ ในคลื่น 82.5 MHz
10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) - ย้ายเสาส่งสัญญาณขอ NTV มาติดตั้ง (VHF ช่อง 4)
พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - สถานีโทรทัศน์ NHK เพื่อการศึกษา ได้ย้ายเข้ามาติดตั้ง(VHF ช่อง 3)
1 ตุลาคม พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988)- สถานีวิทยุ J-WAVE ทำการกระจายเสียงผ่านในคลื่น 81.3 MHz
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - TOKYO MX ทำการออกอากาศผ่านระบบ UHF ช่อง 14
1 เมษายน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - InterFM ทำการกระจายเสียงผ่านระบบคลื่น 76.1 MHz
24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011)- สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศจากโตเกียวจำนวน 9 สถานี ยุติการแพร่ภาพออกอากาศในสัญญาณอะนาล็อก และจะทำการแพร่ภาพออกอากาศเป็นสัญญาณดิจิตอลแทน ตั้งแต่เวลา 24:00 น. ในวันเดียวกัน
กุมภาพันธ์ - กรกฎาคม พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012)- สืบเนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว (เหตุการณ์นี้ทำให้ยอดเสาส่งเอียง) และสถานีโทรทัศน์ทั้ง 9 แห่ง ยุติการแพร่ภาพออกอากาศในสัญญาณอะนาล็อก และทำการแพร่ภาพออกอากาศเป็นสัญญาณดิจิตอลแทน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 ส่งผลมีการรื้อถอนยอดเสาส่งสัญญาณคลื่นวิทยุ สำหรับโทรทัศน์อะนาล็อก และทำให้เสาฯ ถูกลดจำนวนความสูงเหลือแค่ 315 เมตร ลดลงจากเดิม 18 เมตร
10 สิงหาคม พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012)- ทางบริษัทฯผู้ดำเนินการเสาส่งฯ มีกำหนดการติดตั้งยอดเสาส่งสัญญาณคลื่นวิทยุแบบใหม่แล้วเสร็จในวันดังกล่าว (แต่ไม่มีการประกาศเรื่องเป้าหมายการใช้งานในภาคต่อไปได้) ทำให้เสาส่งฯ กลับมามีความสูงในระดับเท่าเดิม เมื่อแรกสร้างเสร็จและดำเนินการใช้งานต่อไป

ประวัติปราสาทโอซะกะ

ในปี ค.ศ. 1583 โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ สั่งให้มีการก่อสร้างปราสาทโอซะกะที่บริเวณวัดอิชิยะมะฮงกัน โดยนำแบบแปลนมาจากปราสาทอะซุชิ อันเป็นศูนย์บัญชาการหลักของโอะดะ โนะบุนะงะ โทะโยะโตะมิต้องการจะสร้างให้เหมือนกับปราสาทอะซุชิ แต่สุดท้ายแล้วกลับโดดเด่นกว่า โดยหอคอยหลักมี 5 ชั้น และมีชั้นใต้ดินอีก 3 ชั้น มีใบไม้ทองที่ด้านข้างของปราสาท ทำให้ตัวปราสาทสวยงามโดดเด่นประทับใจผู้พบเห็น ในปี ค.ศ. 1585 เมื่อตัวปราสาทแล้วเสร็จ โทะโยะโตะมิจึงเริ่มแผนขยายตัวปราสาทเพิ่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก จนประทั่งในปี ค.ศ. 1597 การก่อสร้างได้แล้วเสร็จและฮิเดะโยะชิได้เสียชีวิตลง ตัวปราสาทจึงตกเป็นของบุตรของฮิเดะโยะชิ คือ โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะริ

ในปี ค.ศ. 1600 โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ ปราบศัตรูลงได้ในยุทธการเซะกิงะฮะระและเริ่มจัดตั้งรัฐบาลบะกุฟุที่เอะโดะ ในปี ค.ศ. 1614 โทะกุงะวะเริ่มโจมตีกองกำลังของฮิเดะโยะริในช่วงหน้าหนาวจนเข้าสู่ยุทธการการล้อมโอซะกะ แม้กองกำลังของโทะโยะโตะมิมีจะน้อยกว่ากองกำลังของโทะกุงะวะเกือบครึ่งหนึ่ง แต่ก็สามารถต้านทานทัพ 200,000 นายของโทะกุงะวะและรักษากำแพงเมืองเอาไว้ได้

ในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 1615 ฮิเดะโยะริเริ่มขุดคูเมืองรอบนอกเพิ่มขึ้นอีกชั้น โทะกุงะวะจึงได้ส่งกองกำลังของตนไปโจมตีปราสาทโอซะกะอีกครั้งหนึ่งและสามารถเจาะกำลังทหารของโทะโยะโตะมิเข้าไปในกำแพงเมืองได้เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ปราสาทโอซะกะจึงตกเป็นของโทะกุงะวะ และตระกูลโทะโยะโตะมิก็ถึงคราอวสาน

ในปี ค.ศ. 1620 โทะกุงะวะ ฮิเดะตะดะ โชกุนคนที่ 2 แห่งตระกูลโทะกุงะวะ เริ่มบูรณะและสร้างปราสาทโอซะกะขึ้นมาใหม่ ยกระดับหอคอยให้สูงขึ้น ภายนอกมี 5 ชั้น ภายในมี 8 ชั้น ก่อสร้างกำแพงใหม่ให้เป็นเกียรติแต่ตระกูลซะมุไรแต่ละคน กำแพงในสมัยนั้นยังคงอยู่มาจนทุกวันนี้โดยนำหินมาจากทะเลเซะโตะใน และสลักยอดด้วยชื่อของตระกูลที่อุทิศให้กับการสร้างกำแพงเหล่านี้

ในปี ค.ศ. 1660 เกิดเหตุการณ์ฟ้าผ่าที่คลังแสงเป็นผลให้เกิดระเบิดและไฟไหม้ตัวปราสาท จากนั้นในปี 1665 เกิดฟ้าผ่าทำให้ตัวปราสาทหลักได้รับความเสียหายและพังลงมา

หลังถูกปล่อยทิ้งร้างมานาน รัฐบาลบะกุฟุต้องการจะซ่อมตัวปราสาทซึ่งมีส่วนให้ต้องซ่อมอีกมาก ในปี 1843 รัฐบาลจึงได้เรี่ยไรเงินจากประชาชนในท้องถิ่นเพื่อสร้างคอคอยขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

ในปี ค.ศ. 1868 ปราสาทโอซะกะถูกล้อมด้วยกองกำลังจักรพรรดิต่อต้านรัฐบาลบะกุฟุ และตัวปราสาทก็ถูกเผาในสงครามกลางเมืองสมัยการปฏิรูปเมจิ

ต่อมา รัฐบาลเมจิได้ให้ปราสาทโอวะกะเป็นคลังแสงผลิตปืน อาวุธยุทธภัณฑ์ และระเบิด เพื่อขยายขีดความสามารถทางการทหารของญี่ปุ่นในแบบฉบับของตะวันตก

ในปี ค.ศ. 1928 ได้มีการสร้างหอคอยหลักขึ้นมาใหม่หลังจากที่เทศบาลเมืองโอซะกะสามารถระดมทุนจากประชาชนมาจำนวนมาก

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง คลังแสงกลายเป็นแหล่งผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ที่สำคัญของญี่ปุ่น มีคนงานกว่า 60,000 คน และเป็นเป้าหมายการโจมตีทางอากาศของฝ่ายพันธมิตรด้วย ทำให้ปราสาทโอซะกะเสียหายอย่างหนักในช่วงท้ายสงครามเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1945 จากการทิ้งระเบิดครั้งใหญ่ คลังแสงเสียหายไปร้อยละ 90 และคนงานเสียชีวิต 382 คน

ในปี ค.ศ. 1995 เทศบาลนครโอซะกะเริ่มต้นโครงการบูรณะปราสาทโอซะกะอีกครั้ง โดยให้ภายนอกยังคงความเป็นยุคเอะโดะ แผนการบูรณะแล้วเสร็จในปี 1997 ตัวปราสาทมีความทันสมัยขึ้นมาก มีลิฟต์ติดตั้งภายในและมีสิ่งอำนวยความสะดวกแบบสมัยใหม่มากมาย

ปราสาทฮิเมะจิ

เมื่อปี 1346 อะกะมะสึ ซะดะโนะริ ได้วางแผนที่จะสร้างปราสาทขึ้นที่เชิงเขาฮิเมะจิที่ซึ่งอากามัตสึ โนริมุระ ได้สร้างวัดโชเมียวขึ้น หลังจากอากามัตสึเสียชีวิตในสงครามคาคิทสึ ตระกูลยามานะได้เข้าครอบครองปราสาท แต่หลังจากสงครามโอนิน ตระกูลอากามัตสึก็ยึดปราสาทกลับมาได้อีกครั้ง

ปี 1580 โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ได้เข้ามาเป็นผู้ปกครองปราสาท และมีการสร้างหออาคารหลักสูง 3 ชั้น ดำเนินการโดยคุโระดะ โยะชิตะกะ

หลังจากสงครามเซกิงาฮาราในปี ค.ศ. 1601 โทะกุงะวะ อิเอะยะสุได้ยกปราสาทฮิเมะจิให้แก่อิเคะดะ เทะรุมะซะุ อิเคดะได้ดำเนินการต่อเติมปราสาทเป็นเวลา 8 ปี จนเป็นรูปลักษณ์อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ส่วนต่อเติมส่วนสุดท้าย คือ วงเวียนด้านตะวันตก เสร็จสมบูรณ์เมื่อปี 1618

เมื่อสิ้นสุดยุคเอโดะ ปราสาทฮิเมะจิเป็นหนึ่งในสมบัติชิ้นสุดท้ายของไดเมียว โทะซะมะ ขณะนั้นปราสาทถูกปกครองโดยทายาทของซะกะอิ ทะดะซุมิ จนกระทั่งเมื่อเข้าสู่ยุคเมจิ ปี ค.ศ. 1868 รัฐบาลใหม่ของญี่ปุ่นได้ส่งกองกำลังภายใต้การบังคับบัญชาของทายาทของอิเคดะ เทะรุมะซะ เข้าบุกปราสาท และขับไล่ผู้ปกครองออกไป

ปราสาทฮิเมะจิถูกทิ้งระเบิดในปี ค.ศ. 1945 เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง แม้ว่าพื้นที่โดยรอบส่วนใหญ่จะถูกเผาทำลาย แต่ปราสาทยังคงตั้งอยู่ได้โดยแทบไม่เสียหายปราสาทฮิเมะจิ (ญี่ปุ่น: 姫路城 Himeji-jo, Himeji Castle ?) เป็นปราสาทญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในเมืองฮิเมะจิ จังหวัดเฮียวโงะ เป็นสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งที่เหลือรอดมาจากการทิ้งระเบิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง พ.ศ. 2538 ปราสาทฮิเมะจิได้รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกและสมบัติประจำชาติญี่ปุ่นเมื่อเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2536 ถือว่าเป็น 1 ใน 3 ปราสาทที่งดงามที่สุดในญี่ปุ่น โดยอีก 2 แห่งคือ ปราสาทมะสึโมะโตะ และปราสาทคุมะโมะโตะ และยังเป็นปราสาทที่มีผู้มาเยี่ยมชมมากที่สุดในญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นนิยมเรียกในชื่อว่า "ปราสาทนกกระสาขาว" หรือ ฮะคุระโจะ ซึ่งมีที่มาจากพื้นผิวปราสาทภายนอกซึ่งมีสีขาวสว่าง ในปัจจุบันปราสาทฮิเมะจิได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติประจำชาติญี่ปุ่นและมรดกโลก

อนุสรณ์สันติภาพฮิโระชิมะ

การก่อสร้าง

โดมปรมาณูเดิมก่อสร้างเป็น ศูนย์การประชุมพาณิชยกรรมแห่งฮิโระชิมะ (ญี่ปุ่น: 広島県物産陳列館) เพื่อพัฒนาการตลาดของผลิตภัณฑ์ของเมืองฮิโระชิมะ ซึ่งเป็นเมืองที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในฐานะเมืองสงคราม เพราะเป็นที่ตั้งของศูนย์บัญชาการในสมัยสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง

จังหวัดฮิโระชิมะอนุมัติการก่อสร้างใน พ.ศ. 2453 และเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2457 ตัวอาคารเดิมออกแบบโดยสถาปนิกชาวเชกชื่อว่า Jan Letzel สร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2458 เปิดใช้งานในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2464 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์จัดแสดงสินค้าแห่งฮิโระชิมะ (ญี่ปุ่น: 広島県商品陳列所) และในปี พ.ศ. 2476 เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น ศูนย์ประชาสัมพันธ์เชิงอุตสาหกรรมแห่งฮิโระชิมะ (ญี่ปุ่น: 広島県産業奨励館) ภายในศูนย์แห่งนี้มีการแสดงและวางขายสินค้าที่ผลิตในฮิโระชิมะ รวมทั้งแสดงงานศิลปะต่าง ๆ แต่เมื่อสงครามเริ่มทวีความรุนแรง การแสดงสินค้าก็ลดลงจนเลิกไปเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2487

ระเบิดปรมาณู
ในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 เวลา 8 นาฬิกา 15 นาที ระเบิดปรมาณูลิตเติลบอยระเบิดห่างจากโดมปรมาณูทางทิศตะวันออก 150 เมตร และสูงเหนือพื้นดิน 580 เมตร สันนิษฐานว่า 1 วินาทีหลังจากที่ลิตเติลบอยระเบิดอาคารก็พังทลาย แม้ว่าส่วนอาคารทั้ง 3 ชั้นจะพังทลายเกือบทั้งหมด แต่ส่วนโดมตรงกลางและกำแพงโดยรอบกลับรอดมาได้ เพราะแรงระเบิดนั้นเกิดขึ้นเหนืออาคารพอดี คาดว่าเจ้าหน้าที่ประมาณ 30 คนที่อยู่ในอาคารเสียชีวิตทั้งหมด

การอนุรักษ์

อนุสรณ์สันติภาพฮิโระชิมะเมื่อปี พ.ศ. 2488
การฟื้นฟูฮิโระชิมะเริ่มขึ้นจากการสร้างอาคารชั่วคราวบนพื้นดินที่ราบเป็นหน้ากลอง ในระหว่างนั้น ซากโครงเหล็กรูปโดมของศูนย์ประชาสัมพันธ์เชิงอุตสาหกรรมก็เป็นที่เห็นเด่นชัดจนชาวเมืองพากันเรียกว่าโดมปรมาณู จนติดปาก

โดมปรมาณูกลายเป็นที่รู้จักในฐานะของสัญลักษณ์ความโหดร้ายของระเบิดปรมาณู แต่ชาวเมืองกลับอยากให้ทำลายทิ้ง เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้นึกถึงความโหดร้ายของการทิ้งระเบิด จึงทำให้มีการถกเถียงกันว่าควรจะอนุรักษ์หรือทำลาย เทศบาลเมืองฮิโระชิมะในขณะนั้นไม่เห็นด้วยกับการอนุรักษ์ด้วยสาเหตุที่ว่าการอนุรักษ์ทำให้เกิดภาระทางการเงินมาก และต้องการใช้ทรัพยากรที่จำกัดไปในการฟื้นฟูเมืองมากกว่า แต่เมื่ออิจิโร คะวะโมะโตะ นักต่อสู้เพื่อสันติภาพ ได้อ่านข้อความว่า "ศูนย์ประชาสัมพันธ์เชิงอุตสาหกรรมที่น่าสงสารนั้นคงจะประกาศให้ชนรุ่นหลังได้รับรู้ถึงความน่าสะพรึงกลัวของระเบิดปรมาณูตลอดไป" ในอนุทินของฮิโระโกะ คะจิยะมะ เด็กสาวซึ่งเสียชีวิตใน พ.ศ. 2503 ด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เขาจึงเริ่มการรณรงค์ให้อนุรักษ์โดมประมาณูไว้ จนในพ.ศ. 2509 สภาเทศบาลเมืองฮิโระชิมะก็ลงความเห็นให้อนุรักษ์โดมปรมาณูไว้ตลอดไป ในการระดมทุนสำหรับการก่อสร้างเพื่อเก็บรักษาโดมปรมาณู สามารถรวบรวมเงินจากชาวญี่ปุ่นทั่วประเทศและชาวต่างชาติทั่วโลกได้ถึง 66 ล้านเยน การซ่อมแซมครั้งแรกเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2510 และเสร็จสิ้นในวันที่ 5 สิงหาคม ในปีเดียวกัน

20 ปีหลังจากการซ่อมแซมครั้งแรก เริ่มมีรอยร้าวบนกำแพงและการกัดกร่อนของโครงเหล็ก จึงต้องมีการซ่อมแซมอีกครั้งในปี พ.ศ. 2532 ในครั้งนี้ได้รับเงินบริจาคถึงกว่า 395 ล้านเยน ซึ่งมากกว่าเป้าที่ตั้งไว้เกือบ 4 เท่า เงินส่วนที่เหลือจากการซ่อมแซมนำมาตั้งเป็นกองทุนเพื่อการอนุรักษ์โดมปรมาณู และมีการตรวจความแข็งแรงทุก ๆ 3 ปี

ขึ้นทะเบียนมรดกโลก
อนุสรณ์สันติภาพฮิโระชิมะได้รับการเสนอชื่อให้เป็นมรดกโลกในปี พ.ศ. 2539 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ตัวแทนจากจีนตั้งข้อสงสัยในการรับรองให้อนุสรณ์แห่งนี้เป็นมรดกโลก เพราะจีนเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่อนุสรณ์แห่งนี้อาจถูกนำไปใช้บิดเบือนประวัติศาสตร์เพื่อกล่าวร้ายศัตรูของญี่ปุ่น และตัวแทนจากสหรัฐอเมริกาแสดงความไม่เห็นด้วยกับการขึ้นทะเบียนอนุสรณ์สันติภาพฮิโระชิมะเป็นมรดกโลก เพราะยังขาดมุมมองทางประวัติศาสตร์ แต่คณะกรรมการมรดกโลกก็ตัดสินให้อนุสรณ์สันติภาพฮิโระชิมะผ่านหลักเกณฑ์ทางวัฒนธรรม ข้อที่ว่า มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์ และได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกตั้งแต่ พ.ศ. 2539

ศาลเจ้าฟุชิมิ อินะริ

ศาลเจ้าฟุชิมิ อินะริ (ญี่ปุ่น: 伏見稲荷大社 ฟุชิมิ อินะริ-ไทฉะ ?) เป็นศาลเจ้าชินโตของเทพอินะริ อันเป็นเทพแห่งกสิกรรม ตั้งอยู่ในเขตฟุชิมิ นครเคียวโตะ ประเทศญี่ปุ่น ศาลเจ้านี้เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่สุดของประเทศญี่ปุ่น ตัวศาลเจ้าตั้งอยู่บนพื้นที่เชิงเขาที่ระดับความสูง 233 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งภูเขาก็มีนามเดียวกันคือภูเขาอินะริ ซึ่งรอบๆเชิงเขานี้ยังเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าเล็กๆอีกมากมายตลอดระยะทาง 4 กิโลเมตร ซึ่งสามารถเดินเท้าและเยี่ยมชมได้โดยใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง

ตั้งแต่ยุคโบราณ ชาวญี่ปุ่นนับถือเทพอินะริในด้านการอุปถัมภ์ค้ำชูและส่งเสริมความเจริญในการงานและกิจการ ซึ่งความศรัทธานี้ยังคงอยู่จนตราบจนปัจจุบัน บรรดาเสาโทะริอิที่มากมายของศาลเจ้าแห่งนี้นั้น ล้วนเป็นศรัทธาจากบริษัท, ห้างร้าน, โรงงานในญี่ปุ่น ซึ่งแต่ละต้นจะมีการจารึกผู้บริจาคไว้

ศาลเจ้าแห่งนี้ถือเป็นศาลใหญ่ (大社 ไทฉะ) อันเป็นต้นสังกัดของบรรดาศาลเจ้าลูก (分社 บุนฉะ) ที่บูชาเทพอินะริ ซึ่งทั่วประเทศญี่ปุ่นมีอยู่กว่า 32,000 แห่ง

ศาลเจ้าอิสึกุชิมะ

ศาลเจ้าอิสึกุชิมะ (厳島神社 Itsukushima Jinja) เป็นศาลเจ้าลัทธิชินโตบนเกาะอิสึกุชิมะ เมืองฮะสึไกชิ จังหวัดฮิโระชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก และรัฐบาลญี่ปุ่นได้ยกฐานะอาคารต่าง ๆ ในศาลเจ้าให้เป็นสมบัติประจำชาติญี่ปุ่น

ประวัติความเป็นมาของศาลเจ้าย้อนหลังไปได้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 การก่อสร้างสำเร็จจนมีลักษณะอย่างในปัจจุบันตั้งแต่ปี พ.ศ. 1711 โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากแม่ทัพคิโยโมริ ศาลเจ้าแห่งนี้เคยเป็นสัญลักษณ์แห่งความศักดิ์สิทธิ์ของเกาะ ในอดีตชาวบ้านสามัญชนจะถูกห้ามไม่ให้ย่างเท้าขึ้นบนเกาะ และต้องเดินทางโดยเรือผ่านเสาประตูที่ลอยอยู่กลางทะเล

เสาโทะริอิของศาลเจ้าอิสึกุชิมะเป็นจุดท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น และทิวทัศน์ของเสาประตูที่อยู่หน้าภูเขามิเซนบนเกาะ ยังได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในสามทิวทัศน์ที่งดงามที่สุดในญี่ปุ่น (Three Views of Japan) เสาโทะริอิถูกสร้างขึ้นในบริเวณนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1711 แต่เสาที่เห็นในปัจจุบันถูกสร้างขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2418 ตัวเสาทำจากไม้การบูร มีความสูงประมาณ 16 เมตร มีเสาเล็ก ๆ เป็นฐานรองอีก 4 เสา

ในเวลาที่น้ำขึ้น เสาโทะริอิจะดูเหมือนลอยอยู่กลางทะเล เมื่อน้ำลง จะปรากฏให้เห็นพื้นโคลนเลนที่เสาตั้งอยู่ และสามารถเดินเท้าไปจากเกาะได้ ผู้มาเยือนมักจะวางเหรียญเงินไว้ที่ขารองเสาแล้วอธิษฐานขอพร การเก็บหอยเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่เป็นนิยมเวลาน้ำลง และเวลากลางคืนจะมีแสงไฟจากชายฝั่งส่องไปที่เสาให้ดูงดงามยิ่งขึ้น

การรักษาความสะอาดบริสุทธิ์ในศาลเจ้าถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ก่อนปี พ.ศ. 2421 ภายในศาลเจ้าจะไม่มีการอนุญาตให้มีการเกิดและการตาย แม้จนทุกวันนี้การฝังศพบนเกาะก็ยังเป็นสิ่งต้องห้าม

ในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2547 ศาลเจ้าถูกพายุไต้ฝุ่นซงด่าพัดจนเสียหายหนัก ทางเดินและหลังคาอาคารถูกทำลาย ทำให้ต้องปิดศาลเจ้าชั่วคราว แล้วเปิดให้เข้าชมอีกครั้งในปี พ.ศ. 2549 แต่ก็ยังคงต้องดำเนินการซ่อมแซมต่อไป

ประวัติพระราชวังหลวง

ปราสาทเอะโดะ
ภายหลังการล่มสลายรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ จากการปฏิรูปเมจิ ส่งผลให้อดีตโชกุน โทะกุงะวะ โยะชิโนะบุ ต้องย้ายออกจากปราสาทเอะโดะ ซึ่งสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิและราชสำนัก ก็ได้ย้ายจากพระราชวังเคียวโตะมายังปราสาทเอะโดะ ในวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1868 และจักรพรรดิเมจิก็โปรดฯให้เปลี่ยนนามปราสาท เป็น "ปราสาทโทเก" (東京城 Tōkei-jō) ซึ่งในตอนนั้น โตเกียวก็ถูกเรียกว่ากรุงโทเกด้วยเช่นกัน และในวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1869 ปราสาทก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "ปราสาทโค" (皇城 Kōjō)[3]

พระราชวังเดิม
ในยุคเมจิ โครงสร้างแบบแปลนส่วนใหญ่ของปราสาทเอะโดะนั้นหายไป ซึ่งบางอาคารก็ถูกรื้อถอนเพื่อเปิดทางให้สามารถก่อสร้างตำหนักหรือราชมนเทียรอื่นๆ ในขณะที่บางตำหนักก็เสียหายจากแผ่นดินไหวและไฟไหม้ ซึ่งเหล่าพระราชมนเทียรที่สร้างขึ้นในสมัยเมจินั้น แทบจะทั้งหมดถูกสร้างขึ้นมาจากไม้ ซึ่งภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม ในขณะที่ภายในมีการประยุกต์สถาปัตยกรรมญี่ปุ่นเข้ากับยุโรป ซึ่งเป็นที่นิยมในศตวรรษที่ 19

ในปลายรัชสมัยจักรพรรดิไทโชช่วงต้นรัชสมัยจักรพรรดิโชวะ เริ่มมีอาคารบางส่วนที่สร้างด้วยคอนกรีต เช่น สำนักงานของกระทรวงพระราชวังและคณะองคมนตรี ซึ่งโครงสร้างประกอบกับองค์ประกอบแบบญี่ปุ่นเหล่านี้ช่วยให้พระราชวังดูทันสมัยมากขึ้น โดยที่ยังสามารถรักษาให้ทุกส่วนของพระราชวังสื่อถึงความเป็นญี่ปุ่นได้

ภาพพระราชวังโตเกียวในสมัยเมจิ ซึ่งต่อมาถูกระเบิดทำลายลงในสงครามโลกครั้งที่สอง

พระราชวังหลวง

พระราชวังหลวง (ญี่ปุ่น: 皇居 โคเกียว ?, อังกฤษ: Imperial Palace) ในกรุงโตเกียวนั้น ปัจจุบันเป็นพระราชวังหลวงที่ประทับของจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในแขวงชิโยะดะ กรุงโตเกียว ใกล้กับสถานีรถไฟโตเกียว

ภายในพระราชวังประกอบด้วยพระราชมนเทียร, พระตำหนัก (宮殿 คีวเด็ง) ของพระราชวงศ์ พิพิธภัณฑ์ของสะสมในพระองค์, สำนักพระราชวัง, และพระราชอุทยานขนาดใหญ่

พระราชวังนี้แต่เดิมเป็นที่ตั้งของปราสาทเอะโดะ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของโชกุนตระกูลโทะกุงะวะ แต่พระราชวังเดิมถูกระเบิดทำลายลงไปมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และต่อมาในปี ค.ศ. 1964 ก็ได้รับการบูรณะ ซึ่งตัวพระราชวังมีขนาดที่ดินทั้งหมด 3.41 ตารางกิโลเมตร ซึ่งในภาวะฟองสบู่อสังหสริมทรัพย์ของญี่ปุ่นในทศวรรษที่ 1980 มูลค่าของพระราชวังโตเกียวนั้นมีมูลค่าสูงมากกว่ามูลค่าอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกาเสียอี