วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ปงเนิฟ

ปงเนิฟ (ฝรั่งเศสPont Neuf) แปลตรงตัวว่า "สะพานใหม่" ซึ่งมีความหมายตรงกันข้าม เพราะเป็นสะพานข้ามแม่น้ำแซนที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยถูกตั้งชื่อเพื่อแสดงให้เห็นความแตกต่างกับสะพานแบบเก่าที่มักจะมีบ้านพักอาศัยอยู่ริมสองข้างของราวสะพานในสมัยนั้น
ปงต์เนิฟเป็นสะพานโค้งพาดผ่านแม่น้ำแซน ตั้งอยู่ด้านตะวันตกของอีลเดอลาซีเตซึ่งเป็นเกาะกลางแม่น้ำแซนที่มีอยู่ตั้งแต่ยุคกลาง ตัวสะพานแบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยช่วงแรกประกอบด้วยฐานโค้งจำนวน 5 ฐานเชื่อมฝั่งซ้ายของแม่น้ำกับอีลเดอลาซีเต และช่วงที่สองประกอบด้วยฐานโค้งจำนวน 7 ฐาน เชื่อมจากเกาะไปยังฝั่งขวาของแม่น้ำ การก่อสร้างสะพานในยุคนั้นทำให้มีการสะสมของดินตะกอนแม่น้ำ ทำให้เกาะมีขนาดยาวขึ้นดั่งในปัจจุบัน ส่วนปลายที่แหลมที่สุดของอีลเดอลาซีเตเป็นที่ตั้งของจัตุรัสแวร์-กาล็อง ซึ่งเป็นสวนสาธารณะตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแด่พระเจ้าอ็องรีที่ 4 โดยในปัจจุบันได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศส

ประวัติ

ภาพเขียนสีแสดงให้เห็นแบบก่อสร้างปงเนิฟตามพระราชดำรัส
ในปี ค.ศ. 1550 พระเจ้าอ็องรีที่ 2 มีพระราชประสงค์ให้สร้างสะพานในบริเวณนี้ เนื่องจากสะพานน็อทร์-ดามที่ใช้ในขณะนั้นมีความหนาแน่นเกินไป แต่โครงการก็ได้ยกเลิกไปเนื่องจากค่าก่อสร้างมีราคาสูงเกินไปในขณะนั้น
ต่อมาในปี ค.ศ. 1577 พระเจ้าอ็องรีที่ 3 จึงมีพระราชดำรัสให้สร้าง โดยสะพานได้วางศิลาฤกษ์ในปี ค.ศ. 1578 ซึ่งฐานรากของตีนสะพานทั้ง 4 ฐานได้สำเร็จในเวลาเพียง 1 ปี หลังจากเริ่มก่อสร้าง และต่อมาในปี ค.ศ. 1579 ได้มีความพยายามเปลี่ยนรูปแบบให้ตีนสะพานมีขนาดยาวขึ้น เพื่อขยายพื้นที่บนสะพานเพื่อรองรับการสร้างบ้านเรือน (ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นในที่สุด) ซึ่งใช้เวลาก่อสร้างถึง 9 ปี เนื่องจากติดช่วงสงครามศาสนา (ช่วง ค.ศ. 1588 - 1599) การก่อสร้างจึงหยุดชะงักลง จนกระทั่งเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 1607 ในรัชสมัยของพระเจ้าอ็องรีที่ 4 ทรงเป็นผู้เสด็จพระราชดำเนินเปิดสะพาน
สะพานถูกสร้างด้วยเทคโนโลยีแบบโรมันในสมัยนั้น โดยรับน้ำหนักด้วยฐานเสาโค้งเป็นช่วงสั้น ๆ จำนวนหลายๆฐาน ปงต์เนิฟ เป็นสะพานแห่งแรกในปารีสที่ไม่ได้สร้างบ้านริมสองฝั่งของราวสะพาน และยังมีการปูถนนเพื่อป้องกันโคลน อีกทั้งยังมีป้อมขนาดเล็กทั้งสองด้าน เรียงรายเป็นช่วง ๆ เพื่อใช้เป็นที่หลีกทางของผู้ใช้ถนนยามที่มีรถม้าผ่าน โดยพระเจ้าอ็องรีที่ 4 มีรับสั่งให้งดสร้างบ้านบนสะพานเนื่องจากจะบดบังทัศนียภาพของพระราชวังลูฟวร์ซึ่งพระองค์ได้มีส่วนสำคัญในการปรับปรุงเพิ่มเติมอีกมาก
อีลเดอลาซีเตจากทางทิศตะวันตกและตัวสะพาน
ป้อมขนาดเล็กที่เรียงรายอยู่บนราวสะพาน
ตัวสะพานได้ผ่านการใช้งานอย่างโชกโชนตั้งแต่เปิดใช้ เนื่องจากเป็นสะพานที่กว้างที่สุดในปารีสในช่วงระยะเวลาอันยาวนาน สะพานได้ถูกซ่อมและปรับปรุงหลายครั้ง รวมถึงการสร้างเสาฐานทั้ง 7 ฐานขึ้นใหม่ และลดระดับความสูงของตัวสะพานโดยเปลี่ยนจากช่องโค้งทรงกลม เป็นทรงรูปไข่ (ในช่วงปี ค.ศ. 1848-1855) รวมถึงการแกะสลักตกแต่งขอบสะพาน รวมทั้งขอบบัวเชิงสะพานให้สวยงามเหมือนเดิมอยู่ตลอดเวลา ต่อมาในปี ค.ศ. 1885 เสาสะพานเสาหนึ่งได้พังทลายลงเป็นเหตุให้ต้องมีการปรับปรุงเสริมสร้างความแข็งแรงขึ้นใหม่ โดยได้เสริมความแข็งแรงของฐานรากของเสาแล้วสร้างใหม่ตามแบบเดิม
ต่อมาได้มีการปรับปรุงตัวสะพานครั้งใหญ่เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1994 และเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 2007 เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 400 ปีของสะพาน

พระบรมรูป

ในปี ค.ศ. 1614 ได้มีการสร้างพระบรมรูปทรงม้าของพระเจ้าอ็องรีที่ 4 หล่อจากสำริด ตามพระราชเสาวนีย์พระราชินีและผู้สำเร็จราชการในสมัยนั้น คือมารี เดอ เมดีซิส สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส ตั้งอยู่บริเวณอีลเดอลาซีเตที่เชื่อมระหว่างสองส่วนของสะพานเข้าด้วยกัน ซึ่งสำเร็จในปี ค.ศ. 1618 และต่อมาได้ถูกทำลายลงในช่วงสงครามปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1792 และถูกสร้างขึ้นใหม่ในปี ค.ศ. 1818

ขอบคุณคะ
ชัญญากัญ

พระราชวังลุกซ็องบูร์

พระราชวังลุกซ็องบูร์ (ฝรั่งเศสPalais du LuxembourgอังกฤษLuxembourg Palace) เป็นพระราชวังที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของสวนลุกซ็องบูร์ในกรุงปารีสในประเทศฝรั่งเศส ในปัจจุบันใช้เป็นที่ทำการของวุฒิสภา (French Senate) สวนลุกซ็องบูร์มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 25 เฮ็คตาร์ที่เป็นลานหญ้าและทางเดินกรวดที่มีรูปปั้นตั้งอยู่เป็นระยะ ๆ สลับกับอ่างน้ำ

ประวัติ

พระราชวังลุกซ็องบูร์สร้างเลียนแบบวังพิตติในเมืองฟลอเรนซ์
พระราชวังลุกซ็องบูร์ได้รับการก่อสร้างขึ้นสำหรับสมเด็จพระราชินีมารี เดอ เมดิชิพระบรมราชชนนีในพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศสและกัสตง ดยุคแห่งออร์เลอ็อง(Gaston, Duke of Orleans) ในบริเวณใกล้กับบริเวณที่เดิมเป็นออแตลปาร์ตีกูว์ลีเย(hôtel particulier) ที่เป็นของฟร็องซัว-อ็องรี เดอ มงมอร็องซี ดุ๊กเดอลุกซ็องบูร์(François-Henri de Montmorency, duc de Luxembourg) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อพระราชวัง พระราชินีนาถมารีมีพระประสงค์ที่จะสร้างพระราชวังใหม่ที่ละม้ายวังพิตติในเมืองฟลอเรนซ์ที่เป็นเมืองประสูติของพระองค์ สถาปนิกเอกซาลอมง เดอ บร็อส[1] จึงส่งสถาปนิกเกลม็อง เมเตโซ (Clément Metézeau‎) ไปยังฟลอเรนซ์เพื่อไปนำภาพวาดผังกลับมา[2][3][4][5] พระราชินีนาถมารีทรงทรงซื้อโครงสร้างและสิ่งก่อสร้างที่ค่อนข้างใหญ่โตในปี ค.ศ. 1612 และมีพระราชโองการให้ก่อสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่ขึ้นแทนที่ที่ทรงเรียกว่า “วังเมดิชิ” (Palais Médicis)[6] ในปี ค.ศ. 1615
การก่อสร้างพระราชวังและการตกแต่งเป็นพระราชกรณียกิจอันสำคัญทางศิลปะของพระองค์ แต่ในปัจจุบันสิ่งที่ตกแต่งภายในสำหรับพระองค์ไม่มีหลงเหลืออยู่แล้ว นอกไปจากบางส่วนที่ก่อสร้างขึ้นใหม่ใน Salle du Livre d'Or.[7] ภาพชุดพระราชินีมารี เดอ เมดิชิที่ทรงจ้างให้ปีเตอร์ พอล รูเบนส์และภาพเขียนอื่น ๆ ก็กระจัดกระจายไปเป็นของพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ

ขอบคุณคะ
ชัญญากัญ

อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส

อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส (ฝรั่งเศสCathédrale Notre-Dame de Paris กาเตดราลน็อทร์-ดามเดอปารี[1]) หรือ มหาวิหารน็อทร์-ดาม เป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขมณฑลปารีส ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสคำว่า Notre Dame แปลว่า พระแม่เจ้า (Our Lady) ซึ่งเป็นคำที่ชาวคาทอลิกใช้เรียกพระนางมารีย์พรหมจารี ปัจจุบันอาสนวิหารก็ยังใช้เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกและเป็นที่ตั้งคาเทดราของอาร์ชบิชอปแห่งปารีส มหาวิหารน็อทร์-ดามถือกันว่าเป็นโบสถ์ที่สวยงามที่สุดในลักษณะกอทิกแบบฝรั่งเศส โบสถ์นี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก ผู้เป็นสถาปนิกคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของฝรั่งเศส
การก่อสร้างเป็นแบบกอทิก นับเป็นมหาวิหารแรกที่สร้างในลักษณะนี้ และการก่อสร้างก็ทำต่อเนื่องมาตลอดสมัยกอทิกประติมากรรม และหน้าต่างประดับกระจกสี (stained glass) มีอิทธิพลจากศิลปะแบบแนทเชอราลลิสม์ ทำให้แตกต่างจากศิลปะโรมาเนสก์ที่สร้างก่อนหน้านั้น
น็อทร์-ดามเป็นหนึ่งในบรรดาสิ่งก่อสร้างแรกที่ใช้ "ครีบยันลอย" ตามแบบเดิมไม่ได้บ่งถึงกำแพงค้ำยันรอบมหาวิหาร "บริเวณร้องเพลงสวด" หรือ รอบบริเวณกลางโบสถ์ เมื่อเริ่มสร้างกำแพงโบสถ์สูงขึ้นกำแพงก็เริ่มร้าวเพราะน้ำหนักของสิ่งก่อสร้าง เพราะสถาปนิกสมัยกอทิกจะเน้นการสร้างสิ่งก่อสร้างที่สูง บาง และโปร่ง เมื่อสร้างสูงขึ้นไปกำแพงก็ไม่สามารถรับน้ำหนักและความกดดันของกำแพงและหลังคาได้ทำให้กำแพงโก่งออกไปและร้าว สถาปนิกจึงใช้วิธีแก้ด้วยการเติม "กำแพงค้ำยัน" ที่กางออกไปคล้ายปีกนกด้านนอกตัววัด เพื่อให้กำแพงค้ำยันนี้หนุนหรือค้ำกำแพงตัวโบสถ์เอาไว้ เมื่อทำไปแล้วนอกจากจะมีประโยชน์ทางการใช้สอยแล้วยังกลายเป็นเครื่องตกแต่งที่ทำให้สิ่งก่อสร้างความสวยงามขึ้น ฉะนั้นวิธีแก้ปัญหานี้จึงกลายเป็นเอกลักษณ์ส่วนหนึ่งของโบสถ์ที่สร้างแบบกอทิกไปในตัว
ราวปี ค.ศ. 1790 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส โบสถ์ก็ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ประติมากรรมและศิลปะทางศาสนาถูกทำลายไปมาก มหาวิหารได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนมีสภาพเหมือนก่อนหน้าที่ถูกทำลาย

การก่อสร้าง

เมื่อปี ค.ศ. 1160 บิชอปมอริส เดอ ซูว์ยี (Maurice de Sully) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นบิชอปแห่งปารีส ท่านเห็นว่าโบสถ์ที่ตั้งอยู่เดิมไม่สมฐานะ จึงสั่งให้รื้อทิ้งไม่นานหลังจากที่ท่านได้รับตำแหน่งใหม่ ตามตำนานว่ากันว่าบิชอปเห็นภาพลักษณ์ของมหาวิหารแห่งปารีสอันสวยงาม ท่านจึงรีบร่างแบบที่เห็นไว้บนทรายนอกโบสถ์เดิม ก่อนจะสร้างวิหารใหม่ก็ต้องรื้อบ้านเรือนบริเวณนั้นออกไปหลายหลัง และต้องสร้างถนนใหม่เพื่อจะได้สะดวกต่อการขนวัสดุก่อสร้างได้สะดวก
มหาวิหารเริ่มสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1163 ระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ส่วนที่จะว่าใครเป็นผู้วางศิลาฤกษ์นั้นไม่แน่ บางหลักฐานก็ว่าบิชอปซุลยีเอง บางหลักฐานก็ว่าสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3 เป็นผู้วาง แต่ที่แน่คือทั้งคนเข้าร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์ ตั้งแต่นั้นมาบิชอปซุลยีก็อุทิศชีวิตให้กับการสร้างมหาวิหารนี้
เริ่มการก่อสร้างทางด้านหน้าหรือด้านตะวันตก (west front) ซึ่งมีหอคอยสองหอ เมื่อราวปี ค.ศ. 1200 ก่อนที่จะสร้างโถงกลางของตัวโบสถ์เสร็จ ซึ่งไม่ตรงกับหลักการสร้างสิ่งก่อสร้างตามแบบฉบับ โบสถ์นี้มีสถาปนิกหลายคนที่มีส่วนในการก่อสร้าง จะเห็นได้จากความเปลี่ยนแปลงของรูปทรงไปตามสมัยนิยมของสถาปนิก เป็นต้นว่าหอสองหอทางด้านตะวันตกจะไม่เท่ากัน
ระหว่างปี ค.ศ. 1210 ค.ศ. 1220 สถาปนิกคนที่สี่เป็นผู้ดุแลการสร้างระดับหน้าต่างกลมและโถงภายใต้หอ หอสร้างเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1245 และมหาวิหารเมื่อปี ค.ศ. 1345

เหตุการณ์สำคัญ

  • ค.ศ. 1160 บิชอปซูว์ยีสั่งรื้อวิหารเดิม
  • ค.ศ. 1163 วางศิลาฤกษ์และเริ่มก่อสร้าง
  • ค.ศ. 1182 มุขโค้งด้านสกัด (apse) และบริเวณร้องเพลงสวด (choir) เสร็จ
  • ค.ศ. 1196 ตัวโบสถ์เสร็จ บิชอปซูว์ยีถึงแก่อนิจกรรม
  • ค.ศ. 1200 เริ่มสร้างด้านตะวันตก
  • ค.ศ. 1225 ด้านหน้าโบสถ์ (façade) ทางตะวันตกเสร็จ
  • ค.ศ. 1250 หอด้านตะวันตกและหน้าต่างกลมเสร็จ
  • ค.ศ. 1250 - ค.ศ. 1345 เสร็จ
ขอบคุณคะ
ชัญญากัญ

พิพิธภัณฑ์ออร์แซ

พิพิธภัณฑ์ออร์แซ (ฝรั่งเศสMusée d'Orsay) เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะ พิพิธภัณฑ์การออกแบบ/สิ่งทอ และสถานที่ทางประวัติศาสตร์[2] ที่ตั้งอยู่ในกรุงปารีสในประเทศฝรั่งเศส พิพิธภัณฑ์ออร์แซก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1986 บนฝั่งซ้ายแม่น้ำเซนในสถานที่ที่เดิม เคยเป็นสถานีรถไฟออร์แซ ที่สร้างในแบบสถาปัตยกรรมแบบโบซาร์โดยสถานีรถไฟแห่งนี้ถูกสร้างระหว่างปี ค.ศ. 1898 ถึง ค.ศ. 1900 เพื่อให้เสร็จทันงาน Exposition Universelle เพื่อใช้เป็นชุมทางรถไฟสายตะวันตกเฉียงใต้ จนถึงปีค.ศ. 1939 ได้เลิกกิจการเนื่องจากขนาดของชานชลาไม่กว้างพอสำหรับผู้โดยสารที่เดินทางจำนวนมาก สถานีรถไฟออร์แซ จึงลดความสำคัญลงเป็นสถานีรถไฟสำหรับเดินทางในระยะใกล้ ในปัจจุบันใต้ดินส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ยังคงใช้เป็นสถานีรถไฟชานเมืองด่วนพิเศษ หรือ RER โดยใช้ชื่อสถานีเดียวกัน
ในปีค.ศ. 1970 ในขณะที่กำลังจะมีการรื้อถอนสถานีออร์แซ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้โต้แย้งโดยเสนอให้ปรับปรุงเป็นโรงแรมขึ้นแทน และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ในปีค.ศ.1978 และภายหลังได้มีการเสนอแผนการปรับปรุงให้เป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อผสานความแตกต่างระหว่างสองพิพิธภัณฑ์หลักในขณะนั้น คือ พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์กับพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ ที่ตั้งอยู่ที่ศูนย์ฌอร์ฌ ปงปีดู โดยได้รับการสนับสนุนโดยประธานาธิบดีฌอร์ฌ ปงปีดู ในปีค.ศ. 1978 ทีมสถาปนิกผู้ชนะการแข่งขันเพื่อการออกแบบพิพิธภัณฑ์ได้รับการอนุญาตอย่างเป็นทางการโดยปรับพื้นที่แสดงผลงานบนพื้นที่ 4 ชั้น รวมกว่า 20,000 ตารางเมตร และสถาปนิกชาวอิตาลี นายกาเอ โอเลนตี ได้รับเลือกเพื่อรับผิดชอบการตกแต่งภายใน ซึ่งรวมถึงการจัดสรรพื้นที่แสดงผลงาน การตกแต่ง และเฟอร์นิเจอร์ เพื่อใช้ในพิพิธภัณฑ์ และได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม ปีค.ศ. 1986 โดยประธานาธิบดีฟร็องซัว มีแตร็อง พร้อมกับภาพเขียนกว่า 2,000 ชิ้น รูปปั้นและประติมากรรมกว่า 600 ชิ้น
งานสะสมของพิพิธภัณฑ์ออร์แซเป็นศิลปะฝรั่งเศสที่สร้างระหว่างปี ค.ศ. 1848 ถึง ค.ศ. 1915 ที่รวมทั้งจิตรกรรมประติมากรรม เฟอร์นิเจอร์ และภาพถ่าย แต่ที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดคืองานชิ้นเอกจากลัทธิประทับใจและลัทธิประทับใจยุคหลัง ซึ่งได้แก่งานของโกลด มอแนเอดัวร์ มาแนแอดการ์ เดอกาปีแยร์-โอกุสต์ เรอนัวร์ปอล เซซานฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอราปอล โกแก็ง และฟินเซนต์ ฟัน โคค เป็นต้น
พิพิธภัณฑ์ออร์แซ (Musée d'Orsay) จากแม่น้ำแซน

ขอบคุณคะ
ชัญญากัญ

โรงอุปรากรปาแลการ์นีเย

โรงอุปรากรปาแลการ์นีเย (ฝรั่งเศสPalais Garnier; Opéra de Paris; Opéra Garnier; Paris Opéraฟังเสียง) เป็นโรงอุปรากรตั้งอยู่ในกรุงปารีสในฝรั่งเศส ที่สร้างโดย ชาร์ล การ์นีเย เป็นสถาปัตยกรรมแบบฟื้นฟูบาโรก โรงอุปรากรปาแลการ์นีเยถือกันว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของยุค
เมื่อทำการเปิดในปี ค.ศ. 1875 โรงอุปรากรมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “Académie Nationale de Musique - Théâtre de l'Opéra” (สถาบันดนตรีแห่งชาติ - โรงละครเพื่อการแสดงอุปรากร) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้กันมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1978 เมื่อได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น “Théâtre National de l'Opéra de Paris” (โรงละครแห่งชาติเพื่อการแสดงอุปรากรแห่งปารีส) แต่หลังจากคณะอุปรากรแห่งปารีส (Opéra National de Paris) เลือกโรงอุปรากรบัสตีย์ซึ่งเป็นโรงอุปรากรที่เพิ่งสร้างขึ้นใหม่เป็นโรงอุปรากรหลักแล้ว โรงละครแห่งชาติก็เปลี่ยนชื่อเป็น “ปาแลการ์นีเย” แม้ว่าจะมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “Académie Nationale de Musique” (สถาบันดนตรีแห่งชาติ) แม้ว่าคณะอุปรากรจะย้ายไปยังโรงอุปรากรบัสตีย์ แต่ “ปาแลการ์นีเย” ก็ยังคงเรียกกันว่า “โรงอุปรากรปารีส”

ประวัติ

ปาแลการ์นีเยออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่ของปารีสของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 ที่ริเริ่มโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ผู้ทรงเลือกชอร์ช-เออแชน โอสแมนน์ให้เป็นผู้ดูแลการก่อสร้าง ในปี ค.ศ. 1858 จักรพรรดินโปเลียนก็มีพระบรมราชโองการให้เคลียร์พื้นที่ 12,000 ตารางเมตรที่ใช้ในการสร้างโรงละครที่สองสำหรับคณะนักแสดงอุปรากรและบัลเลต์ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกของปารีส โครงการนี้ได้เปิดแข่งขันประมูลกันในปี ค.ศ. 1861 โดยมีชาร์ล การ์นีเยเป็นผู้ประมูลได้ ในปีเดียวกันก็ได้ทำการวางศิลาฤกษ์ และการก่อสร้างเริ่มขึ้นในปีต่อมาในปี ค.ศ. 1862 มีเรื่องเล่ากันว่าจักรพรรดินีเออเชนีเดอมองติโคตรัสถามการ์นีเยระหว่างการก่อสร้างว่าจะสร้างเป็นแบบโรมันหรือกรีก ซึ่งการ์นีเยก็ถวายคำตอบว่าจะเป็น “แบบนโปเลียนที่ 3”

อุปสรรค

การก่อสร้างโรงอุปรากรประสบกับอุปสรรคต่าง ๆ หลายอย่าง อุปสรรคที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการเลื่อนเวลาการเทฐานคอนกรีตลงบนพื้นดินที่เป็นเลนแฉะที่ภายใต้เป็นทะเลสาบใต้ดิน ที่ต้องใช้เวลาตลอดแปดเดือนเต็มในการใช้เครื่องสูบน้ำดูดน้ำออก จากนั้นก็ประสบกับสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย, การล่มสลายของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 และ การปกครองภายใต้รัฐบาลปารีสคอมมีน ระหว่างนั้นการก่อสร้างก็สร้าง ๆ หยุด ๆ เป็นพัก ๆ และถึงกับมีข่าวลือว่าโครงการจะถูกระงับลงโดยสิ้นเชิง

เพลิงไหม้

เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1873 ปัจจัยที่ทำให้จำเป็นที่จะต้องสร้างปาแลการ์นีเยให้เสร็จมาจากโรงอุปรากรปารีสเดิมที่เรียกว่า “โรงละครแห่งราชสถาบันการดนตรี” (Théâtre de l'Académie Royale de Musique) ถูกเพลิงเผาไหม้อยู่ 27 ชั่วโมงจนไม่เหลือซาก

การก่อสร้าง

เมื่อมาถึงปลาย ค.ศ. 1874 การ์นีเยก็สร้างปาแลการ์นีเยเสร็จ และเปิดดำเนินการเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1875 ด้วยการแสดงอันยิ่งใหญ่ งานแสดงฉลองประกอบด้วยองค์ที่สามของอุปรากร La Juive โดย Fromental Halévy และบางตอนของอุปรากร Les Huguenots โดย Giacomo Meyerbeer คณะบัลเลต์แสดง Grand Divertissement ที่ประกอบด้วยฉาก Le Jardin Animé จากบัลเลต์ Le Corsaire โดย Joseph Mazilier ด้วยดนตรีโดย Léo Delibes.

แฟนธอม

ในปี ค.ศ. 1896 โคมระย้าของโรงอุปรากรก็ร่วงลงมาทำให้มีผู้เสียชีวิตไปคนหนึ่ง เหตุการณ์นี้ และ การมีทะเลสาบใต้ดิน, ห้องใต้ดินและองค์ประกอบอื่นทำให้กาสตง เลอรูซ์นำเอาไปเขียนนวนิยายกอธิค เรื่อง “เดอะแฟนธอมออฟดิโอเปรา” ในปี ค.ศ. 1909

ลักษณะสถาปัตยกรรม

แม้ว่าจะมีขนาดเล็กกว่าโรงอุปรากรเดิมเล็กน้อย แต่ปาแลการ์นีเยก็มีเนื้อที่ถึง 11,000 ตารางเมตร จุผู้ชมได้ประมาณ 2,200 คนภายใต้โคมระย้าที่หนักกว่า 6 ตัน และมีห้องที่สามารถรับนักแสดงได้ถึง 450 คน การตกแต่งอย่างหรูหราเป็นการตกแต่งตามแบบสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์ ที่ผังเป็นลักษณะที่สมมาตรพร้อมด้วยการตกแต่งภายนอก
การตกแต่งปาแลการ์นีเยเป็นการตกแต่งอัน “วิจิตรตระการตา” โดยใช้แถบหินอ่อนหลากสี, คอลัมน์ และ รูปสลักเสลาอันงดงามที่บางรูปมาจากตำนานเทพเจ้ากรีก ระหว่างคอลัมน์ด้านหน้าเป็นประติมากรรมสำริดครึ่งตัวของคีตกวีเอกหลายคนที่รวมทั้งโวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ทจออาชิโน รอสซินีแดเนียล โอแบร์ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟินจาโคโม ไมเยอร์เบียร์,โฟรเมินทาล ฮาเลวีย์กาสปาเรอ สปงทีนี และ ฟิลีป ควีโนล์ท.
กลางหลังคาเป็นประติมากรรม “อพอลโล, กวีนิพนธ์ และ ดนตรี” ที่สร้างโดยเอเม มิลเลต์ กลุ่มประติมากรรมปิดทองเป็น “ความกลมกลืน” และ “ดนตรี” ที่ออกแบบโดยชาร์ล จูเมอรีย์และประติมากรรมสำริดขนาดเล็กกว่าเป็นภาพเพกาซัสของเออแฌน-หลุยส์ เลอเคสเนอ ประติมากรรมด้านหน้าสร้างโดยฟรองซัวส์ จูฟฟรอย (“ความกลมกลืน”), ฌอง-บัพทิสต์ โคลด เออแฌน กีโยม (“ดนตรี”), ฌอง-บัพทิสต์ คาร์โพซ์ (“นาฏกรรม”), ฌอง-โฌเซฟ แพร์โรด์ (“นาฏดนตรี”) และงานชิ้นอื่น ๆ โดย ศิลปินอีกหลายท่าน
ภายในตัวโรงอุปรากรประกอบด้วยระเบียง, บันได, ที่พักระหว่างขั้นบันได และ เวิ้ง ที่ผสานสลับกันไปมาที่ทำให้สามารถผู้คนจำนวนมากสามารถเคลื่อนย้ายทำการสังสรรค์กันได้อย่างสะดวกระหว่างการพักครึ่งระหว่างการแสดง การใช้สีที่ลึกและเป็นกำมะหยี่, ใบประดับสีทอง, ดรุณเทพ และ นิมฟ์ ในการตกแต่งภายในเป็นการตกแต่งตามแบบฉบับของสถาปัตยกรรมบาโรกอันอลังการ
บริเวณเพดานรอบโคมระย้าได้รับการเขียนภาพใหม่ในปี ค.ศ. 1964 โดยมาร์ค ชากาล แต่เป็นงานที่สร้างความขัดแย้ง เพราะมีผู้มีความเห็นว่าเป็นงานที่ไม่สอดคล้องกับลักษณะการตกแต่งโดยทั่วไปของสถาปัตยกรรม

ขอบคุณคะ
ชัญญากัญ

พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์

พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ (ฝรั่งเศสMusée du Louvre) หรือในชื่อทางการว่า the Grand Louvre เป็นพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะตั้งอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงที่สุด เก่าแก่ที่สุด และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งได้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้เมื่อปี พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1793) มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์กาเปเซียงตัวอาคารเดิมเคยเป็นพระราชวังหลวง ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่ที่จัดแสดงและเก็บรักษาผลงานทางศิลปะที่ทรงคุณค่าระดับโลกเป็นจำนวนมากกว่า 35,000 ชิ้น จากตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงศตวรรษที่ 19 อย่างเช่น ภาพเขียนโมนาลิซา, The Virgin and Child with St. Anne, Madonna of the Rocks ผลงานของเลโอนาร์โด ดาวินชี หรือภาพ Venus de Milo ของอเล็กซานดรอสแห่งแอนทีออก ในปี พ.ศ. 2549 พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์มีผู้มาเยี่ยมชมเป็นจำนวน 8.3 ล้านคน ทำให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้มาเยี่ยมชมมากที่สุดในโลก[ต้องการอ้างอิง] และยังเป็นสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากที่สุดในกรุงปารีส
รูปประติมากรรมหินอ่อนวีนัส ของมิโล (Venus de Milo) ถูกเพิ่มมาจัดแสดงในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 13
พีระมิดแก้วของพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ออกแบบโดย ไอ. เอ็ม. เป สถาปนิกชาวจีน-อเมริกัน ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อปีค.ศ.1988 โดยเป็นหนึ่งในโครงการที่ริเริ่มของประธานาธิบดีฟร็องซัว มีแตร็อง เพื่อใช้สอยเป็นทางเข้าหลักของพิพิธภัณฑ์ โดยผู้เข้าชมจะต้องเข้าผ่านล็อบบี้ใต้ดิน ที่อยู่ใต้ฐานพีระมิด โดยโครงการถัดไปคือพีระมิดกลับหัว หรือ The Inverse Pyramid (ฝรั่งเศสLa Pyramide Inversée) ซึ่งเป็นพีระมิดแก้วเช่นเดียวกัน ที่สามารถมองเห็นได้จากใต้ดิน โดยฐานพีระมิดจะอยู่บนพื้นผิวระดับถนน ซึ่งโครงการนี้เสร็จสมบูรณ์ในปีค.ศ.1993
พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ ถือเป็นหน่วยงานของรัฐบาลฝรั่งเศส โดยตั้งแต่ปีค.ศ.2003 ได้มีความพยายามทำการแปรรูปขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการปรับลดงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลจาก 75% เหลือเพียง 62% ในปีค.ศ.2006 โดยภาพยนตร์ชื่อดังจากนวนิยายเรื่อง ดาวินชี่โค้ด ของแดน บราวน์ พิพิภัณฑ์ได้รับเงินสนับสนุนค่าพื้นที่การถ่ายทำถึง 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในปีค.ศ.2008 รัฐบาลฝรั่งเศสได้สนันสนุนงบประมาณทั้งหมด 180 ล้านเหรียญฯ จากงบประมาณที่ต้องการทั้งหมด 350 ล้านเหรียญฯ โดยส่วนต่างที่เหลือมาจากเงินบริจาค และค่าเข้าชม
พระราชวังลูฟวร์ กับพีระมิดแก้วยามค่ำคืน

ขอบคุณคะ
ชัญญากัญ