วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ประตูชัย

  พูดถึงประเทศฝรั่งเศสนอกจากหอไอเฟลก็คงไม่พ้นประตูชัยใช่ไหมละคะ ประตูชัยที่ใหญ่และสวยงามที่พวกเราเห็น แต่มันมีอะไรมากกว่านั้นคะ...อยากรู้แล้วล่ะสินะคะงั้นก็เริ่มมมม
อาร์ก เดอ ทรียงฟ์ เดอ เลตวล (ฝรั่งเศสArc de triomphe de l'Étoile) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ประตูชัยฝรั่งเศส เป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่กลางจัตุรัสชาร์ล เดอ โกล (Place Charles de Gaulle) หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม "จัตุรัสแห่งดวงดาว" (Place de l'Étoile) อยู่ทางทิศตะวันตกของช็องเซลีเซ ประตูชัยแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นการสดุดีวีรชนทหารกล้าที่ได้ร่วมรบเพื่อประเทศฝรั่งเศส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสงครามนโปเลียน และในปัจจุบันยังเป็นสุสานของทหารนิรนามอีกด้วย
ประตูชัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของ "แกนกลางอันเก่าแก่" (L'Axe historique) ซึ่งเป็นถนนเส้นตรงจากสวนพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ไปยังชานกรุงปารีส ประตูชัยแห่งนี้ออกแบบโดยฌ็อง ชาลแกร็งในปี พ.ศ. 2349 โดยมียุวชนเปลือยชาวฝรั่งเศสกำลังต่อสู้กับทหารเยอรมัน เต็มไปด้วยเคราและใส่เกราะเป็นสัญลักษณ์เพื่อเป็นการปลุกใจ และเป็นอนุสรณ์สถานจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1
อาร์กเดอทรียงฟ์มีความสูง 49.5 เมตร (165 ฟุต) กว้าง 45 เมตร (148 ฟุต) และลึก 22 เมตร (72 ฟุต) เป็นประตูชัยที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน[1] แบบของอาร์กเดอทรียงฟ์นี้ได้แนวความคิดมาจากประตูชัยไตตัสอาร์กเดอทรียงฟ์มีความใหญ่มาก เพราะหลังจากมีการสวนสนามในปรุงปารีสเมื่อปี พ.ศ. 2462 ชาร์ล โกดฟรัว ได้ขับเครื่องบินนีอูปอร์ต (Nieuport) ผ่านกลางอาร์กเดอทรียงฟ์เพื่อเป็นการสดุดีเหล่าทหารอากาศที่ได้เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1

ประวัติ

อาร์กเดอทรียงฟ์เป็นหนึ่งในอนุสรณ์สถานที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงปารีส ได้ถูกมอบหมายให้สร้างในปี พ.ศ. 2349(รัชกาลที่ 1 พ.ศ. 2325-2352 ราชวงศ์จักรี) หลังจากจักรพรรดินโปเลียนที่ 1ได้รับชัยชนะในยุทธการเอาสเตอร์ลิทซ์ กว่าจะวางรากฐานของการก่อสร้างก็ใช้เวลาเกือบ 2 ปีไปแล้ว และในปี พ.ศ. 2353 เมื่อจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เสด็จกรุงปารีสจากทางทิศตะวันตกพร้อมด้วยเจ้าสาว อาร์คดัชเชสมารี หลุยส์แห่งออสเตรีย อาร์กเดอทรียงฟ์ก็ถูกสร้างขึ้นด้วยไม้ในแบบจำลองเท่านั้นเอง สถาปนิกฌ็อง ชาลแกร็งได้เสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2354 ดังนั้นอูยงจึงได้ดูแลงานนี้ต่อมา ในช่วงราชวงศ์บูร์บงฟื้นฟูการก่อสร้างได้หยุดชะงักลงและไปเสร็จสิ้นในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ ในระหว่าง พ.ศ. 2376 - พ.ศ. 2379 โดยสถาปนิกคือกูสต์ ต่อมาคืออูโยต์ ภายใต้การดูแลของหลุยส์-เอเตียน เอรีการ์ เดอ ตูว์รี (Louis-Étienne Héricart de Thury)

การออกแบบ

ตั้งแต่การล่มสลายของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ในปี พ.ศ. 2358 แล้ว ประตูชัยได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติ ซึ่งได้มีการเฉลิมฉลองกันในปีเดียวกันนั้นด้วย
แบบของประตูชัยนั้น ฌ็อง ชาลแกร็งเป็นผู้ออกแบบ ในรูปแบบศิลปะนีโอคลาสสิก ที่ได้ดัดแปลงมาจากสถาปัตยกรรมโรมันโบราณ ช่างแกะสลักที่สำคัญของประเทศฝรั่งเศสนั้นก็ได้มีส่วนร่วมในรูปแกะสลักของอาร์กเดอทรียงฟ์ด้วย เช่น ฌ็อง-ปีแยร์ กอร์โตฟร็องซัว รูดอ็องตวน เอแต็กซ์เจมส์ ปราดีเย และฟีลิป โฌแซ็ฟ อ็องรี ลาแมร์ รูปแกะสลักที่สำคัญไม่ได้เป็นลวดลายยาวบนกำแพง แต่เป็นรูปแกะสลักลอยตัวที่เป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะติดกับตัวประตูชัย
  • รูปแกะสลัก 4 กลุ่มบริเวณฐานประตูชัยที่สำคัญ ได้แก่ :




Batailles gravées sur atique ADT.jpg

  • ส่วนโค้งของเสา มีสัญลักษณ์รูปสลักหญิงในตำนานโรมันปรากฏอยู่ (โดยเจมส์ ปราดีเยร์)



Batailles gravées sous grandes arcades.jpg
ศึกสงครามถูกสลักลงบนส่วนโค้งของเสา

  • ส่วนโค้งของเสามีรูปแฝงความหมาย ดังนี้





  • ใต้ประตูชัยจะมีสุสานทหารนิรนาม โดยสลักไว้ดังนี้:
ICI
REPOSE
UN SOLDAT
FRANÇAIS
MORT
POUR LA PATRIE

1914 . 1918
Unknownsoldier paris.jpg
สุสานทหารนิรนาม

รายละเอียดของสุสาน

การดูแลรักษา

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 อาร์กเดอทรียงฟ์ได้มีสีดำขึ้น เนื่องจากถูกเขม่าถ่านหิน ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2509 ประตูชัยได้ถูกทำความสะอาดโดยเครื่องพ่นทราย ในปัจจุบันคราบสีดำเริ่มก่อตัวขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง

การเข้าชม

การเข้าสู่อาร์กเดอทรียงฟ์ด้วยการเดินเท้านั้นคือผ่านทางเดินใต้ดิน ถ้าเดินข้างบนมักจะไม่ปลอดภัยเนื่องจากจราจรอันคับคั่งบริเวณจัตุรัสชาร์ล เดอ โกล บริเวณส่วนโค้งจะมีลิฟต์ 1 ตัว นักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นบันได 284 ขั้นเพื่อขึ้นสู่ยอดส่วนโค้งหรือสามารถขึ้นลิฟต์ดังกล่าวและขึ้นบันไดอีก 46 ขั้นได้เหมือนกัน บนยอดของอาร์กเดอทรียงฟ์เป็นสถานที่ชมวิวได้สวยที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงปารีส เนื่องจากสามารถเห็นถนนใหญ่ 12 สายมาบรรจบกันยังอาร์กเดอทรียงฟ์ (จัตุรัสชาร์ล เดอ โกล) ได้ด้วย นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นรถไฟฟ้าแอร์เออแอร์หรือรถไฟฟ้าปารีสได้ โดยลงที่สถานีชาร์ล เดอ โกล-เอตวล

ขอบคุณคะ
ชัญญากัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น