วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558

ประวัติอินเดีย

ประเทศอินเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐอินเดีย
Republic of India (อังกฤษ)
भारत गणराज्य (ฮินดี)
ธงชาติตราแผ่นดิน
คำขวัญสตฺยํเอว ชยเต (सत्यमेव जयते)
"ความจริงเท่านั้นจักมีชัย"
เพลงชาติชนะ คณะ มนะ (जन ग़ण मन, ชน คณ มน)
"ดวงใจแห่งผองชน"
เมืองหลวงนิวเดลี
28°34′N 77°12′E
เมืองใหญ่สุดมุมไบ
ภาษาราชการภาษาฮินดีและภาษาอังกฤษ
ดูเพิ่มได้ที่ ภาษาราชการของอินเดีย
การปกครองสหพันธ์สาธารณรัฐ
 - ประธานาธิบดีปรณัพ มุขชี
 - นายกรัฐมนตรีนเรนทระ โมที
เอกราชจาก สหราชอาณาจักร 
 - ประกาศ15 สิงหาคม พ.ศ. 2490 
 - สาธารณรัฐ26 มกราคม พ.ศ. 2493 
พื้นที่
 - รวม3,287,590 ตร.กม. (7)
1,269,346 ตร.ไมล์ 
 - แหล่งน้ำ (%)9.56
ประชากร
 - 2555 (ประเมิน)1,222,650,000 (2)
 - 2544 (สำมะโน)1,027,015,247 
 - ความหนาแน่น329 คน/ตร.กม. (31)
852 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ)2549 (ประมาณ)
 - รวม3.77 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (4)
 - ต่อหัว3,344 ดอลลาร์สหรัฐ (122)
HDI (2550)0.612 (กลาง) (134)
สกุลเงินรูปี (Rs.)1 (INR)
เขตเวลาIST (UTC+5:30)
 - (DST)not observed (UTC+5:30)
ระบบจราจรซ้ายมือ
โดเมนบนสุด.in
รหัสโทรศัพท์91
1 Re. เป็นเอกพจน์
ประเทศอินเดีย (อังกฤษIndiaฮินดีभारत) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (อังกฤษRepublic of Indiaฮินดีभारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดแปดร้อยภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก
National symbols of the Republic of India (Official)
National animal2005-bandipur-tusker.jpg
National birdPavo muticus (Tierpark Berlin) - 1017-899-(118).jpg
National treeBanyan tree on the banks of Khadakwasla Dam.jpg
National flowerSacred lotus Nelumbo nucifera.jpg
National heritage animalPanthera tigris.jpg
National aquatic marine mammalPlatanistaHardwicke.jpg
National reptileKing-Cobra.jpg
National heritage mammalHanuman Langur.jpg
National fruitAn Unripe Mango Of Ratnagiri (India).JPG
National templeNew Delhi Temple.jpg
National riverRiver Ganges.JPG
National mountainNanda Devi 2006.JPG

ภูมิศาสตร์[แก้]

Map of India. พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นบริเวณสีเหลือง (ความสูงตั้งแต่ 100–1000 เมตร) บางบริเวณแถบตอนใต้และตะวันออกเป็นสีน้ำตาล (ความสูงตั้งแต่ 1000 เมตร) บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเป็นบริเวณสีเขียว (ความสูงต่ำกว่า 100 เมตร)
แผนที่ภูมิประเทศของอินเดีย
ประเทศอินเดียเกิดขึ้นบนอนุทวีปอินเดียน (Indian subcontinent) ซึ่งตั้งอยู่บนบริเวณแผ่นเปลือกโลกอินเดีย (Indian tectonic plate) ซึ่งในอดีตนั้นเคยเชื่อมอยู่กับแผ่นออสเตรเลีย การรวมตัวทางภูมิศาสตร์ครั้งสำคัญของประเทศอินเดียนั้นเกิดขึ้นราว 75 ล้านปีก่อน เมื่ออนุทวีปอินเดียซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของมหาทวีปแห่งตอนใต้ คือ มหาทวีปกอนด์วานา (Gondwana) ได้เริ่มเคลื่อนตัวขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านที่บริเวณมหาสมุทรอินเดียซึ่งในขณะนั้นยังไม่เกิดขึ้น โดยกินเวลารวมทั้งหมดประมาณ 55 ล้านปี หลังจากนั้นอนุทวีปอินเดียนได้ชนเข้ากับแผ่นทวีปยูเรเชีย อันเป็นที่มาของการเกิดเทือกเขาที่มีความสูงที่สุดในโลก คือ เทือกเขาหิมาลัย ซึ่งอยู่บริเวณภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ตอนใต้ของเทือกเขาซึ่งเคยเป็นท้องทะเลอันกว้างขวางได้ค่อยๆกลายมาเป็นผืนดินราบลุ่มแม่น้ำอันกว้างใหญ่ ทำให้เกิดเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาตอนเหนือของอินเดีย (Indo-Gangetic Plain) ทางภาคตะวันตกนั้นติดกับทะเลทรายธาร์ ซึ่งถูกกั้นกลางด้วยทิวเขาอะราวัลลี

อนุทวีปอินเดียนนั้นได้คงอยู่จนกลายมาเป็นคาบสมุทรอินเดียในปัจจุบัน ซึ่งจัดเป็นส่วนที่เก่าแก่ที่สุดทางธรณีวิทยา และยังเป็นบริเวณที่มีความคงที่ทางภูมิศาสตร์ที่สุดแห่งหนึ่งในอินเดีย โดยกินพื้นที่กว้างขวางจรดเทือกเขาสัทปุระ (Satpura)ทางตอนเหนือ และเทือกเขาวินธยะ (Vindhya) ในภาคกลางของอินเดีย โดยมีลักษณะคู่ขนานกันไปจรดชายฝั่งทะเลอาหรับในรัฐคุชราตทางทิศตะวันตก และที่ราบสูงโชตนาคปุระ (Chota Nagpur Plateau) ที่เต็มไปด้วยแร่ถ่านหินในรัฐฌาร์ขัณฑ์ทางทิศตะวันออก ส่วนทิศใต้นั้นประกอบด้วยแผ่นดินคาบสมุทรบนที่ราบสูงเดคคาน (Deccan Plateau) ซึ่งถูกขนาบโดยเทือกเขาริมทะเลทั้งสองฝั่งที่เรียกว่า เทือกเขากัทส์ทิศตะวันตก และตะวันออก(Western and Eastern Ghats) ในบริเวณนี้จะพบหินที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในอินเดีย ซึ่งมีอายุถึง 1 พันล้านปี
เทือกเขาเคดาร์ (Kedar Range) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหิมาลัย มองจากวิหารฮินดู (Kedarnath Temple)
ชายฝั่งของอินเดียนั้นมีระยะทางประมาณ 7,517 กิโลเมตร (4,700 ไมล์) แบ่งเป็นระยะทางบนคาบสมุทรอินเดีย 5,423 กิโลเมตร (3,400 ไมล์) และ 2,094 กิโลเมตร (1,300 ไมล์) ในหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์และลักษทวีป จากแผนที่ทะเลของอินเดียนั้น ชายฝั่งบนแผ่นดินใหญ่ของอินเดียประกอบด้วยหาดทรายถึง 43% กรวดและหิน 11% รวมถึงหน้าผา และ 46% เป็นดินเลนและโคลน
แม่น้ำในอินเดียแบ่งออกได้เป็นสี่ประเภทคือ แม่น้ำจากเทือกเขาหิมาลัย แม่น้ำคาบสมุทรเดคคาน แม่น้ำชายฝั่ง และแม่น้ำในดินแดนภายในแม่น้ำหิมาลัย ปกติจะเกิดจากน้ำที่ละลายมาจากหิมะ ในภาคเหนือของอินเดีย ดังนั้น แม่น้ำเหล่านี้จะมีน้ำไหลเต็มที่อยู่ตลอดเวลา และมีความลาดชันค่อนข้างต่ำ ในฤดูมรสุมเมื่อฝนตกมาก แม่น้ำเหล่านี้จะรับน้ำไว้ได้ไม่หมด จึงทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่อยู่เสมอ ส่วนแม่น้ำในคาบสมุทรเดคคาน โดยปกติได้น้ำจากน้ำฝน ดังนั้นปริมาณน้ำในแม่น้ำดังกล่าว จึงมักจะมากน้อยไม่แน่นอน อีกทั้งมีความลาดชันลดหลั่นลง จึงรับน้ำได้มาก และช่วยระบายน้ำในฤดูมรสุมอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำย่อย ๆ ซึ่งไม่มีต้นกำเนิดจากแม่น้ำทั้งสองประเภทดังกล่าว และอยู่ตามชายฝั่งโดยเฉพาะในฝั่งตะวันตก จะมีเส้นทางสั้น ๆ และมีขนาดแคบ จึงรับน้ำได้ในปริมาณจำกัด สำหรับแม่น้ำในดินแดนภายใน เป็นลำน้ำเล็ก ๆ ไม่มีทางออกทะเล ปลายทางของแม่น้ำหากไม่ไหลลงแอ่งน้ำ ทะเลสาบ ก็จะเหือดแห้งไปในทะเลทรายธาร์
ระบบแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียคือ แม่น้ำคงคา (Ganges) ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย แม่น้ำสาขาในระบบแม่น้ำคงคาคือแม่น้ำยมนา แม่น้ำกากรา แม่น้ำกันดัค และแม่น้ำโคสิ บริเวณผืนดินที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาจัดได้ว่ามีความอุดสมบูรณ์ และกว้างใหญ่ที่สุด โดยเป็นบริเวณกว้างถึงหนึ่งในสี่ของประเทศ นอกจากนั้นยังมีแม่น้ำพรหมบุตร ซึ่งมีความสำคัญรองลงมา มีสาขามากมาย ซึ่งไหลผ่านพื้นที่ส่วนใหญ่ของอินเดีย โดยไปสุดที่อ่าวเบงกอลเช่นเดียวกับแม่น้ำคงคา
ส่วนลุ่มน้ำของระบบแม่น้ำอื่น ๆ ที่มีความสำคัญ รองลงมาได้แก่ ลุ่มแม่น้ำโคธาวารี (Godavari) ในเขตที่ราบสูงเดคคาน ระบบน้ำตาปี (Tapi) ในภาคเหนือ และระบบน้ำเพนเนอร์ (Penner) ในภาคใต้ การที่อินเดียถูกแวดล้อมด้วยพรมแดนธรรมชาติรอบด้าน คือมีทั้งภูเขาและฝั่งทะเลเป็นพรมแดน ได้แยกอินเดียออกจากส่วนอื่น ๆ ของทวีปเอเชีย ทำให้อินเดียตั้งอยู่โดดเดี่ยวตามลำพัง ซึ่งนับว่ามีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อวิถีชีวิตของชาวอินเดีย ทำให้ชาวอินเดียมีอารยธรรมและวัฒนธรรมที่มีลักษณะของตนเองโดยเฉพาะ และในโอกาสเดียวกัน พรมแดนธรรมชาติดังกล่าว ช่วยให้สามารถรักษาวัฒนธรรมของตนให้สืบเนื่องตลอดมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยปัจจุบัน
สภาพอากาศของอินเดียนั้นได้รับอิทธิพลจากสองแหล่งใหญ่ๆ คือเทือกเขาหิมาลัย และทะเลทรายธาร์ ทำให้มีทั้งฤดูร้อนอันอบอุ่น และฤดูหนาวที่มีมรสุม เทือกเขาหิมาลัยนั้นมีบทบาทมากในการป้องกันลมพัดลงลาดเขา (Katabatic wind) ทำให้บริเวณส่วนใหญ่ของประเทศนั้นอบอุ่นกว่าประเทศอื่นๆที่ตั้งอยู่ในละติจูดเดียวกัน ส่วนทะเลทรายธาร์นั้นก็มีบทบาทในการขับเคลื่อนความชื้นของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งลมมรสุมนี้เองที่ทำให้ทุกปีๆระหว่างเดือนมิถุนายนถึงตุลาคมนั้นมีฝนตกในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ
จากการแบ่งเขตภูมิอากาศนั้น อินเดียประกอบด้วยภูมิอากาศหลักๆ 4 แบบได้แก่ แบบเขตร้อนชื้น (tropical wet), แบบเขตร้อนแห้งแล้ง (tropical dry), แบบอบอุ่นชื้น (subtropical humid), และแบบเทือกเขาสูง (montane)

ประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสตกาล ชาวดราวิเดียน ชาวอารยัน เริ่มกำเนิดอารยธรรมต่าง ๆ ในลุ่มแม่น้ำสินธุ ต่อมาในสมัย อาณาจักรเมารยะ ซึ่งมีดินแดนในตอนเหนือตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำสินธุจรดอ่าวเบงกอลพระเจ้าอโศกมหาราชได้สร้างความรุ่งเรืองในการปกครองและได้สนับสนุนการเผยแผ่พุทธศาสนา ในสมัยราชวงศ์โมกุลมีการขยายอิทธิพล วัฒนธรรมโมกุลอย่างกว้างขวาง ในด้านการปกครองภาษาศิลปะสถาปัตยกรรมและศาสนาอิสลาม อังกฤษเริ่มมามีอิทธิพลในอนุทวีป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เพื่อค้าขายและครอบครองดินแดนและแทรกแซงในการเมืองท้องถิ่น จนกระทั่งอินเดียตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ หลังจากการรณรงค์ต่อต้านการปกครองของอังกฤษมาเป็นเวลานาน อินเดียจึงได้รับเอกราช และได้รับการสถาปนาเป็นสาธารณรัฐอินเดีย

การเมืองการปกครอง[แก้]

บริหาร[แก้]

ดูบทความหลักที่: รัฐบาลอินเดีย
คณะรัฐมนตรี มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล
  • ประธานาธิบดี นายประณับ มุกเคอร์จี (Pranab Kumar Mukherjee) ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 13
  • นายกราชยสภา นายกฤษาณ กันต์ (Krishan Kant) รองประธานาธิบดี ทำหน้าที่นายกราชยสภาโดยตำแหน่ง
  • นายกโลกสภา นายคานตี โมหัน พลโยคี (Ganti Mohana Balayogi) (เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1999)
  • นายกรัฐมนตรี นายมานโมฮัน ซิงห์ (Manmohan Singh)
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายชสวันต์ สิงห์ (Jaswant Singh), เข้ารับตำแหน่งเมื่อ 13 ตุลาคม ค.ศ. 1999
  • โครงสร้างการปกครอง

กระทรวง[แก้]

ประเทศอินเดียมีกระทรวงอยู่ทั้งหมด 38 กระทรวง (รวมทั้งส่วนราชการเทียบเท่า) ดังต่อไปนี้
กระทรวงชื่อภาษาอังกฤษอักษรย่อ
1กระทรวงบุคลากร การรับการร้องทุกข์ และบำเหน็จบำนาญMinistry of Personnel, Public Grievances and Pensions
2กระทรวงกิจการที่อยู่อาศัยMinistry of Home Affairs
3กระทรวงการต่างประเทศMinistry of External Affairs
4กระทรวงกิจการอินเดียโพ้นทะเลMinistry of Overseas Indian AffairsMOIA
5กระทรวงการคลังMinistry of Finance
6กระทรวงกลาโหมMinistry of Defence
7กระทรวงสารสนเทศและการกระจายเสียงMinistry of Information and Broadcasting
8กระทรวงการขนส่งทางรางMinistry of Railways
9กระทรวงการพัฒนาเมืองMinistry of Urban Development
10กระทรวงการเคหะและการบรรเทาความยากจนในเมืองMinistry of Housing and Urban Poverty Alleviation
11กระทรวงกิจการรัฐสภาMinistry of Parliamentary Affairs
12กระทรวงการขน่สงทางถนนและทางหลวงMinistry of Road Transport and Highways
13กระทรวงการขนส่งทางเรือMinistry of Shipping
14กระทรวงกฎหมายและยุติธรรมMinistry of Law and Justice
15กระทรวงทรัพยากรน้ำ การพัฒนาแม่น้ำ และการฟื้นฟูแม่น้ำคงคาMinistry of Water Resources, River Development and Ganga Rejuvenation
16กระทรวงกิจการชนกลุ่มน้อยMinistry of Minority Affairs
17กระทรวงการพัฒนาชนบทMinistry of Rural Development
18กระทรวงการกระจายอำนาจและการปกครองส่วนท้องถิ่นในรัฐMinistry of Panchayati Raj
19กระทรวงน้ำดื่มและสุขาภิบาลอนามัยMinistry of Drinking Water and Sanitation
20กระทรวงกิจการผู้บริโภค อาหาร และการจัดจำหน่ายสาธารณะMinistry of Consumer Affairs, Food and Public Distribution
21กระทรวงวิสาหกิจในครัวเรือน ขนาดเล็กและขนาดกลางMinistry of Micro, Small and Medium Enterprises
22กระทรวงสตรีและการพัฒนาเด็กMinistry of Women and Child Development
23กระทรวงสารเคมีและปุ๋ยMinistry of Chemicals and Fertilizers
24กระทรวงการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศMinistry of Communications and Information Technology
25กระทรวงการบินพลเรือนMinistry of Civil Aviation
26กระทรวงอุตสาหกรรมหนักและรัฐวิสาหกิจMinistry of Heavy Industries and Public Enterprises
27กระทรวงการประมวลผลอุตสาหกรรมอาหารMinistry of Food Processing Industries
28กระทรวงเหมืองแร่Ministry of Mines
29กระทรวงเหล็กMinistry of Steel
30กระทรวงแรงงานและการจ้างงานMinistry of Labour and Employment
31กระทรวงกิจการชนเผ่าMinistry of Tribal Affairs
32กระทรวงเกษตรMinistry of Agriculture
33กระทรวงความยุติธรรมทางสังคมและการเพิ่มขีดความสามารถMinistry of Social Justice and Empowerment
34กระทรวงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์Ministry of Human Resource Development
35กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีMinistry of Science and Technology
36กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการครอบครัวMinistry of Health and Family Welfare
37กรมพลังงานปรมาณูDepartment of Atomic EnergyDAE
38กรมอวกาศDepartment of SpaceDoS

นิติบัญญัติ[แก้]

ดูบทความหลักที่: รัฐสภาแห่งอินเดีย
ระบบรัฐสภา ประกอบด้วยราชยสภา (Rajya Sabha) เป็นสภาสูง มีสมาชิกจำนวน 245 คน สมาชิกส่วนใหญ่ มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม อีกส่วนมาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี และโลกสภา (Lok Sabha) เป็นสภาล่าง มีสมาชิกจำนวน 545 คน สมาชิกจำนวน 543 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงและอีก 2 คน มาจากการคัดเลือกของประธานาธิบดี จากกลุ่มอินโด-อารยันในประเทศอยู่ในวาระคราวละ 5 ปี เว้นเสียแต่จะมีการยุบสภา

ตุลาการ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กฎหมายอินเดีย
ศาลอินเดียแบ่งเป็นสามชั้น ประกอบด้วย ศาลสูงสุด (Supreme Court) นำโดย ประธานศาลสูงสุดแห่งอิงเดีย (Chief Justice of India), ศาลสูง (High Courts) ยี่สิบเอ็ดศาล เป็นศาลชั้นอุทธรณ์ และศาลชั้นต้นอีกจำนวนมาก ศาลสูงสุดมีเขตอำนาจชำระคดีเกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐาน, ข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นกับส่วนกลาง และคดีที่อุทธรณ์มาจากศาลสูง กับทั้งการตีความรัฐธรรมนูญ
  • การปกครอง ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ และเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร แต่อำนาจการบริหารที่แท้จริงอยู่ที่นายกรัฐมนตรีอำนาจ การปกครองแบ่งเป็นรัฐต่าง ๆ 25 รัฐ และดินแดนสหภาพของรัฐบาลกลาง (Union Territories) อีก 7 เขต ขณะนี้ (มกราคม 2544) โลกสภาได้เห็นชอบร่างรัฐบัญญัติในการจัดตั้งรัฐใหม่ 3 รัฐ คือ รัฐฉัตติสครห์ (Chattisgarh) รัฐอุตตรานจัล (Uttaranchal) และรัฐฌาร์ขันท์ (Jharkhand) ซึ่งแยกออกจากรัฐมัธยประเทศ รัฐอุตตรประเทศ และรัฐพิหาร ตามลำดับ

การเมืองภายใน[แก้]

อินเดียมีการเลือกตั้งครั้งล่าสุด ซึ่งเป็นสมัยที่ 13 เมื่อวันที่ 5 กันยายน - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ภายหลังจากที่รัฐบาลชุดก่อนของนายกรัฐมนตรี อตล เพหารี วัชปายี (Atal Behari Vajpayee) ได้แพ้การพิสูจน์เสียงข้างมาก (Vote of Confidence) ในโลกสภาเพียง 1 เสียง เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2542 เนื่องจากพรรค All India Anna Dravida Munnetra Kazagham (AIADMK) ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลได้ประกาศถอนการสนับสนุนรัฐบาลผสมของนายวัชปายี อย่างไรก็ดี ผลการเลือกตั้งปรากฏว่านายวัชปายี ผู้นำพรรคภารติยชนตะ (Bharatiya Janata Party : BJP) ซึ่งร่วมกับพรรคการเมืองอื่น ๆ อีก 25 พรรค ในนามพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติ (National Democratic Alliance : NDA) ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด ส่งผลให้นายวัชปายีเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอินเดียอีกสมัย โดยได้กระทำพิธีสาบานตนรับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2542 มีเสียงสนับสนุนในสภาผู้แทนราษฎร (โลกสภา) อินเดีย ทั้งสิ้น 296 เสียง จากจำนวนเสียงทั้งหมด 543 เสียง ซึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบันของอินเดียเป็นรัฐบาลผสมเสียงข้างมาก ซึ่งนับว่ามีฐานเสียงแข็งแกร่งกว่าเดิม (ครั้งที่แล้ว พรรค BJP และพันธมิตรจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยด้วยคะแนนเสียง 264 เสียง) ส่วนพรรคคองเกรส และพรรคพันธมิตรได้รับคะแนนเสียงเพียง 133 เสียงเท่านั้น (พรรคคองเกรสพรรคเดียวได้ 112 เสียง) ซึ่งนับว่าเป็นคะแนนเสียงที่ต่ำที่สุดในรอบ 50 ปีของประวัติศาสตร์การเมืองของพรรคคองเกรส ส่งผลให้พรรคคองเกรสและพันธมิตรเป็นพรรคฝ่ายค้าน

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

อินเดียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 29 รัฐ (States) (ซึ่งแบ่งย่อยลงเป็นเขต) และ 7 ดินแดนสหภาพ (Union Territories) ได้แก่
แผนที่แสดงรัฐและดินแดนสหภาพของประเทศอินเดีย
รัฐ
ดินแดนสหภาพ

กองทัพ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กองทัพอินเดีย

กองกำลังกึ่งทหาร[แก้]

เศรษฐกิจ[แก้]

โครงสร้างเศรษฐกิจ[แก้]

สถานการณ์เศรษฐกิจ[แก้]

เมืองมุมไบยามค่ำคืน
  • อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้น (GDP Growth) ร้อยละ 5.8 (พ.ศ. 2543)
  • รายได้ประชาชาติเบื้องต้นต่อหัว (per – capita GNP) 415 ดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2542)
  • เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ 39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (รวมมูลค่าทองคำ) (พ.ศ. 2543)
  • ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ 1,760 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (สิงหาคม พ.ศ. 2542) ...-.513
  • อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย ร้อยละ 6.0 (พ.ศ. 2543)
  • ดุลการค้า อินเดีย – โลก ขาดดุล 17.10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (กันยายน พ.ศ. 2543)
  • มูลค่าการส่งออก 21.70 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เมษายน-กรกฎาคม พ.ศ. 2543)
  • มูลค่าการนำเข้า 38.80 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เมษายน-กรกฎาคม พ.ศ. 2543)
  • การลงทุนของต่างชาติระหว่างปี พ.ศ. 2541 – 2542 2.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • มูลค่าตลาดทุน 11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2543) ประเทศคู่ค้าสำคัญ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี ซาอุดีอาระเบีย และสหราชอาณาจักร สินค้าออกที่สำคัญ อัญมณี และกึ่งอัญมณี ไข่มุก เสื้อผ้าสำเร็จรูป ชา และกาแฟ ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ ยาและเวชภัณฑ์ สินค้าเข้าที่สำคัญ น้ำมันปิโตรเลียม เครื่องจักร อัญมณีและกึ่งอัญมณี แร่เหล็ก และน้ำมันพืช

การท่องเที่ยว[แก้]

ดูบทความหลักที่: การท่องเที่ยวในอินเดีย

ประชากรศาสตร์[แก้]

เชื้อชาติ[แก้]

พ่อค้าชาวอินเดีย
ประชากรอินเดียมีประมาณ 1,000 ล้านคน โดยมีเชื้อชาติ อินโด-อารยัน ร้อยละ 72 ดราวิเดียน ร้อยละ 25 มองโกลอยด์ ร้อยละ 2 และอื่น ๆ ร้อยละ 1 อัตราการเพิ่มของประชากร ร้อยละ 1.8 พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) และอัตราการรู้หนังสือ ร้อยละ 52.1

ภาษา[แก้]

ดูบทความหลักที่: ภาษาราชการของอินเดีย
อินเดียมีประชากรกว่า 1,100 ล้านคน ประชากรเหล่านี้มีความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ และวัฒนธรรม มีภาษาหลักใช้พูดถึง 16 ภาษา เช่น ภาษาฮินดี ภาษาอังกฤษ ภาษาเบงกาลี ภาษาอูรดู ฯลฯ และมีภาษาถิ่นมากกว่า 100 ภาษา ภาษาฮินดี ถือว่าเป็นภาษาประจำชาติ เพราะคนอินเดียกว่าร้อยละ 30 ใช้ภาษานี้ คนอินเดียที่อาศัยอยู่รัฐทางตอนเหนือและรัฐทางตอนใต้นอกจากจะใช้ภาษาที่แตกต่างกันแล้ว การแต่งกาย การรับประทานอาหารก็แตกต่างกันออกไปด้วย

ศาสนา[แก้]

เนื่องจากประเทศอินเดียเป็นแหล่งกำเนิดพระศาสนาที่มีความสำคัญในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ศาสนาพราหมณ์ และ พระพุทธศาสนา ชาวอินเดียจึงถือว่าครอบครัวเป็นสถาบันทางสังคมที่มีความสำคัญที่สุด ระบบครอบครัวของอินเดียเป็นระบบครอบครัวร่วม หรือครอบครัวขนาดใหญ่ สมาชิกในครอบครัวประกอบด้วย ปู่ ย่า พ่อ แม่ ลูก หลาน และ เหลน อยู่ร่วมกันภายในครอบครัวเดียว ผู้อาวุโสที่สุดของฝ่ายชายจะเป็นหัวหน้าครอบครัว แม้สังคมของอินเดียยังคงมีความนับถือเรื่องวรรณะอยู่ แต่ก็ปรากฏไม่มากเท่าอดีต การดำเนินชีวิตของชาวอินเดียจะยึดถือศาสนาเป็นสิ่งสำคัญ กว่าร้อยละ 79 ของประชากรนับถือศาสนาฮินดู ร้อยละ 15 นับถือศาสนาอิสลาม ที่เหลือร้อยละ 2.5 นับถือศาสนาคริสต์ นอกนั้นนับถือศาสนาพุทธส่วนมากอยู่ลาดัก หิมาจัล สิกขิม อัสสัม เบงกอลตะวันตก และโอริสสา ศาสนาซิกข์ในรัฐปัญจาบ และศาสนาเชนในรัฐคุชรัต และอื่น ๆ รวมทั้งพวกนักบวชที่นับถือนิกายต่าง ๆ อีกมากมาย มีประมาณ 400 ศาสนาทั่วอินเดีย

โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

การคมนาคม และ โทรคมนาคม[แก้]

เส้นทางคมนาคม[แก้]

โทรคมนาคม[แก้]

การศึกษา[แก้]

ดูบทความหลักที่: การศึกษาในประเทศอินเดีย

สาธารณสุข[แก้]

ดูบทความหลักที่: สาธารณสุขในประเทศอินเดีย

วัฒนธรรม[แก้]

ดูบทความหลักที่: วัฒนธรรมอินเดีย

วัฒนธรรมร่วมสมัย[แก้]

ประเพณีแต่งงานของชาวอินเดีย
ประเทศอินเดียมีการแต่งงานโดยการที่ผู้หญิงเป็นฝ่ายขอผู้ชายแต่งงาน

วรรณกรรม[แก้]

ดูบทความหลักที่: วรรณกรรมของอินเดีย

นาฏศิลป์[แก้]

ดูบทความหลักที่: นาฏศิลป์ของอินเดีย

อาหาร[แก้]

ดูบทความหลักที่: อาหารอินเดีย

วันหยุด[แก้]


ขอบคุณคะ
ชัญญากัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น