วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558

ประวัติโปรตุเกส

ประเทศโปรตุเกส

                                                            



                                                                  ประเทศโปรตุเกส

โปรตุเกส (Portugal) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโปรตุเกส (Portuguese Republic) (โปรตุเกส: República Portuguesa) เป็น สาธารณรัฐซึ่งมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรไอบีเรียทางตอนใต้ของทวีปยุโรป และถือว่าเป็นประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันตกมากที่สุดในบรรดาประเทศในทวีปยุโรปทั้งหลาย (ยกเว้นหมู่เกาะบริเตนใหญ่และหมู่เกาะใกล้เคียง) โปรตุเกสมีพรมแดนติดกับประเทศสเปนในทางทิศเหนือและทิศตะวันออก และอยู่ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกในทางทิศตะวันตกและทิศใต้ นอกจากนี้ โปรตุเกสยังประกอบไปด้วยอาณาเขตหมู่เกาะอยู่หลายหมู่เกาะด้วยกันในมหาสมุทรแอตแลนติก อาทิเช่น อาโซเรช (Azores หรือ Açores) และเกาะมาเดราและโปร์ตูซันตู (รวมถึงหมู่เกาะซาเวจด้วย)
   ประวัติศาสตร์
        โปรตุเกสคือดินแดนที่เป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมแตกต่างกันไปอย่างต่อเนื่องในช่วง 3,500 ปีที่ผ่านมา ทั้งอารยธรรมของชาวไอบีเรีย (Iberians) ชาวเซลต์ (Celts) ชาวฟีนีเชีย (Phoenicians) และชาวคาร์เทจ (Carthaginians) ชาวกรีก (Greeks) ชาวโรมัน (Romans) ชาวเผ่าเยอรมัน (Germanic tribespeople) รวมถึงอารยธรรมของชาวอาหรับ (Arabians) ล้วนเคยเหยียบย่ำบนแผ่นดินโปรตุเกสมาแล้วทั้งสิ้น ในชื่อ "โปรตุเกส" นั้นก็บ่งบอกถึงประวัติศาสตร์สมัยโบราณส่วนใหญ่ของประเทศนี้ไปแล้ว เนื่องจากรากศัพท์ของคำว่าโปรตุเกสนั้น คือชื่อที่ชาวโรมันตั้งให้ชื่อว่า "Portus Cale" อาจเป็นไปได้ว่าคำนี้จะมาจากการสมาสคำระหว่างภาษากรีกและภาษาละตินซึ่งมีความหมายว่า "ท่าเรือที่สวยงาม" ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ คริสต์ศตวรรษที่ 16 นั้นโปรตุเกสคือประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม โดยจักรวรรดิโปรตุเกสนั้นแผ่ขยายอำนาจของตนไปทั่วโลก เมื่อหลังจากที่ประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ พัฒนาขึ้นในด้านการล่าอาณานิคมแล้ว โปรตุเกสจึงเสื่อมถอยลงไป
ประเทศโปรตุเกสในปัจจุบันนี้มีรากฐานมาจากการปฏิวัติเรียกร้องประชาธิปไตย ที่ทำการล้มล้างระบอบการปกครองแบบเผด็จการ (หรือการบริหารแบบพรรคเดียว) ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2469(ค.ศ. 1926) จนถูกโค่นล้มในปี พ.ศ. 2517(ค.ศ. 1974) จากนั้นในภายหลังจึงเข้ามาเป็นสมาชิกของประชาคมเศรษฐกิจยุโรป หรือ European Economic Community (สหภาพยุโรปในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2529(ค.ศ. 1986) ประเทศโปรตุเกสพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของตนขึ้นมาอย่างรวดเร็วในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมาในคริสต์ศตวรรษที่ 20
                                    
ยุคลูซิทาเนีย
    ในช่วงต้น ๆ หนึ่งสหัสวรรษก่อนคริสตกาล ชาวเซลต์ได้ทำการรุกรานโปรตุเกสจากภูมิภาคยุโรปตอนกลางอยู่หลายระลอกด้วยกัน รวมถึงแต่งงานข้ามเผ่ากับชาวไอบีเรียซึ่งเป็นประชากรท้องถิ่น ก่อให้เกิดชาวเซลต์ลูกครึ่งไอบีเรียออกมา นักสำรวจชาวกรีกในยุคนั้นตั้งชื่อภูมิภาคนี้ว่า "ออร์ฟิอุสซา" (Orphiussa) (มาจากภาษากรีก หมายความว่า "แดนแห่งพญางู" เนื่องจากชาวพื้นเมืองที่นั่นนับถืองูพิษ ต่อมาพ.ศ. 305(ก่อนคริสตกาล 238 ปี) ชาวคาร์เทจเข้ามาตั้งถิ่นฐานตามแนวชายฝั่งบนคาบสมุทรไอบีเรีย ในช่วงนี้มีเผ่าย่อยๆ หลายเผ่าอาศัยอยู่กระจัดกระจายกันไป ส่วนใหญ่มักจะเป็นชาวลูซิทาเนีย (Lusitanians) ที่อาศัยอยู่ระหว่างแม่น้ำดูโร (Douro) และแม่น้ำเทโฮ (Tegus หรือ Tejo) และชาวแคลเลไค (Callaeci) ที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำดูโรรวมอยู่กับเผ่าอื่น ๆ รวมถึงชาวโคนิไอ (Conii) ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนใต้ของโปรตุเกสมาเป็นเวลานาน และชาวเซลติไค (Celtici) ชนรุ่นหลังของชาวเซลต์ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน พวกเขาอาศัยอยู่ที่อเลนเทโฮ (Alentejo)
ก่อนคริสตกาล 219 ปี ทหารชาวโรมันชุดแรกเข้ามาทำการรุกรานคาบสมุทรไอบีเรีย และขับไล่ชาวคาร์เทจออกไประหว่างสงครามพิวนิค (Punic Wars) การพิชิตโปรตุเกสของชาวโรมันเริ่มต้นขึ้นทางตอนใต้ขึ้นมา, ในตอนใต้นี้เอง ที่ทำให้พวกเขาพบกับชาวพื้นเมืองที่เป็นมิตรเผ่าแรกคือเผ่าโคนิไอ หลายทศวรรษต่อมา ชาวโรมันก็ค่อยๆ ขยายวงแหวนแห่งการปกครองออกไป แต่ในที่สุด เมื่อ พ.ศ. 349(194 ปีก่อนคริสตกาล)เกิดการกบฎขึ้นทางตอนเหนือ โดยชาวลูซิเทเนียที่ในที่สุดก็สามารถตรึงกำลังพวกโรมันเอาไว้ได้ ได้ทำการยึดอาณาเขตคืนมาจากชาวโรมัน และปล้นสดมภ์เมืองโคนิสทอร์จิส (Conistorgis) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเผ่าโคนิไอ ด้วยเหตุผลที่ว่าชาวโคนิไอนี้ผูกมิตรชิดเชื้อกับโรม ผู้นำของชาวลูซิเทเนีย วิเรียธิอุส (Viriathus) เป็นผู้นำการขับไล่ทหารโรมันออกจากคาบสมุทรไอบีเรีย ทำให้โรมต้องส่งกองทหารโรมันมาเป็นจำนวนมาก แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ต่อมาทางโรมจึงทำการประนีประนอมโดยการเปลี่ยนสัญชาติชาวลูซิเทเนียให้เป็น ชาวโรมัน ด้วยการมอบสิทธิ์ละติน (Latinius หรือ Latin Right) ให้กับชาวลูซิเทเนียในปี พ.ศ. 616(ค.ศ. 73)
                                     


การแบ่งเขตการปกครอง
สาธารณรัฐโปรตุเกสแบ่งออกเป็น 18 เขต (districts - distritos) ได้แก่
1.    เขตลิสบอน|เขตลิสบัว (ลิสบอน) (Lisboa; Lisbon)
2.    เขตเลเรีย (Leiria)
3.    เขตซังตาแรง (Santarém)
4.    เขตเซตูบัล (Setúbal)
5.    เขตเบจา (Beja)
6.    เขตฟารู (Faro)
7.    เขตแอวูรา (Évora)
8.    เขตปอร์ตาเลกรี (Portalegre)
9.    เขตกัชเตลูบรังกู (Castelo Branco)
10.    เขตกวาร์ดา (Guarda)
11.    เขตโกอิมบรา (Coimbra)
12.    เขตอาเวรู (Aveiro)
13.    เขตวีเซว (Viseu)
14.    เขตบรากังซา (Bragança)
15.    เขตวีลาเรอาล (Vila Real)
16.    เขตโอปอร์โต|เขตปอร์ตู (โอปอร์โต) (Porto; Oporto)
17.    เขตบรากา (Braga)
18.    เขตเวียนาดูกัชเตลู (Viana do Castelo)
       นอกจากนี้โปรตุเกสยังมี 2 เขตปกครองตนเอง (autonomous regions - regiões autónomas) คือ อาโซเรช (Açores; the Azores) และ มาเดรา (Madeira) ซึ่งเป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรแอตแลนติก
ธงชาติโปรตุเกส
   ธงชาติโปรตุเกส มีลักษณะเป็นธงสองสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในแบ่งเป็นสองแถบตามแนวตั้ง ด้านคันธงเป็นพื้นสีแดง กว้าง 2 ใน 5 แห่งด้านยาว ด้านปลายธงกว้างเป็น 3 ใน 5 ส่วนแห่งด้านยาว พื้นสีเขียว กลางแนวแบ่งแถบสีธงนั้นมีภาพตราแผ่นดินของโปรตุเกสอย่างย่อ ซึ่งเป็นรูป Armillary sphere อันเป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในทางวิชาดาราศาสตร์ และตราโล่แห่งโปรตุเกสซ้อนทับกัน ประเทศโปรตุเกสได้ประกาศใช้ธงนี้เป็นธงชาติอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2454 โดยเป็นแบบธงที่ได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการสรรหาธงชาติโปรตุเกส เพื่อนำมาใช้แทนที่ธงชาติในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
สีของธงอย่างใหม่โดยเฉพาะสีเขียวนั้นไม่ใช่สีอย่างที่เคยใช้ในธงชาติโปรตุเกสในอดีต และเป็นการแสดงออกถีงแรงบันดาลในจากแนวคิดสาธารณรัฐ ซึ่งต้องการทำลายความเชื่อมโยงกับระบอบกษัตริย์ที่อิงกับศาสนจักรของ โปรตุเกสในอดีตลง หลังเหตุการณ์จลาจลจากกลุ่มนิยมสาธารณรัฐในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2434 ล้มเหลวลง สีเขียวและสีแดงก็ได้กลายเป็นสีของพรรดนิยมสาธารณรัฐโปรตุเกส (Portuguese Republican Party) และขบวนการเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคงทำการเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อมาจนกระทั่งสามารถก่อการปฏิวัติสำเร็จ ในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2454 ในช่วงทศวรรษต่อมา สีทั้งสองสีได้รับการเผยแพร่โดยทั่วไปว่าเป็นสีแห่งความหวังของชาติ (สีเขียว) และสีของเลือดของผู้ที่ยอมตายเพื่อปกป้องชาติ (สีแดง) ในฐานะเป็นเครื่องมือแสดงออกถึงความรักชาติและความหยิ่งในเกียรติของชาวโปรตุเกส
แบบของธงชาติโปรตุเกสในปัจจุบันแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงใน พัฒนาการของธงชาติ ซึ่งเคยเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิดตามการเปลี่ยนแปลงตราประจำราชวงศ์ (royal arms) อยู่เสมอ นับแต่การสถาปนาประเทศแห่งนี้เป็นต้นมา ธงชาตินั้นมีพัฒนาการจากธงรูปกางเขนสีฟ้าบนพื้นสี่เหลี่ยมจตุรัสสีขาวของพระเจ้าอฟองโซที่ 1 แห่งโปรตุเกส มาสู่ธงตราอาร์มบนธงสี่เหลี่ยมพื้นสีฟ้า-ขาว ของกษัตริย์โปรตุเกสเสรีนิยม ในช่วงเวลาดังกล่าว การเปลี่ยนแปลงลักษณะธงโดยหลักซึ่งจะมีความเกี่ยวโยงกับเหตุการณ์สำคัญทาง การเมืองอยู่เสมอ ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงรูปตราแผ่นดินมาจนถึงรูปแบบปัจจุบัน ด้วย
แบบธง
กฎหมายซึ่งระบุให้ธงชาติโปรตุเกสแบบปัจจุบันใช้แทนธงชาติในระบอบราชาธิปไตย ภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างถูกกฎหมายนั้น ได้รับความเห็นชอบจากสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งโปรตุเกสและตีพิมพ์ในรัฐกิจจา นุเบกษาโปรตุเกส (โปรตุเกส: Diário do Governo) ฉบับที่ 141 ในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2454 และประกาศใช้ข้อบังคับเรื่องธงชาติอย่างเป็นทางการในรัฐกิจจานุเบกษาเลขที่ 150 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ปีเดียวกัน
                                                              


ประเทศโปรตุเกส:กรุงลิสบอน
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีพรมแดนติดต่อกับสเปนทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศใต้ติดมหาสมุทรแอตแลนติก
พี้นที่ 92,072 ตร.กม.
ประชากร ประมาณ 11 ล้านคน
เมืองหลวง กรุงลิสบอน (LISBON) มีประชากรประมาณ 2 ล้านคน
เมืองสำคัญ ปอร์โต (Porto) โคอิมบรา (Coimbra) เซตูบาล (Satubal) ฟาโร (Faro)
ภาษา โปรตุเกสเป็นภาษาประจำชาติ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอังกฤษ มีผู้พูดได้บ้างตามสถานที่ท่องเที่ยว และเมืองที่สำคัญต่าง ๆ
เงินตรา เอสคูโด (Escudo) อัตราประมาณ 5.4 เอสคูโด ต่อ 1 บาท และตั้งแต่ 1 มกราคม 2545 จะใช้ธนบัตรและเหรียญเป็นเงินยูโร (EURO)
อากาศ ภูมิอากาศแบบยุโรปตอนใต้ อากาศร้อนจัดระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ย 28-36 องศาเซลเซียส ฤดูหนาวตั้งแต่เดือนตุลาคม-มีนาคม อุณหภูมิเฉลี่ย 0-12 องศาเซลเซียส และฤดูใบไม้ผลิ ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 10-18 องศาเซลเซียส



                                                                                                                                                 ขอบคุณคะ
                                                                                                                                                 ชัญญากัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น